การประเมินการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพที่ต้องใช้ใบประกอบการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ใบประกอบการสั่งใช้ยา, ยาต้านจุลชีพ, ผู้ป่วยในบทคัดย่อ
การใช้ยาต้านจุลชีพเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการดื้อยาของจุลชีพก่อโรค การใช้ยาไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการใช้ยาที่มากเกินความจำเป็นจะส่งผลต่อปัญหาเชื้อดื้อยา เกิดอาการไม่พึงประสงค์ และค่าใช้จ่ายทางยาที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพที่ต้องใช้ใบประกอบการใช้ยา (Drug use evaluation form) ในด้านข้อบ่งใช้ แบบแผนการใช้ยา ระยะเวลาการใช้ยา ผลการรักษา มูลค่าการใช้ยา ปัญหาจากการใช้ยา และประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับผู้ป่วยใน
วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบพรรณนา เก็บข้อมูลไปข้างหน้าในผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติที่ใช้ยาต้านจุลชีพ 6 รายการ ได้แก่ piperacillin/tazobactam, meropenem, vancomycin, colistin, cefoperazone/sulbactam หรือ levofloxacin ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 ถึง 30 ก.ย. 2562 โดยประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยากับแนวทางที่กำหนดโดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ในด้านข้อบ่งใช้ ขนาดยา การตอบสนองทางคลินิกหลังสิ้นสุดการรักษา ปริมาณและมูลค่ายา รวมทั้งปัญหาจากการใช้ยา การให้คำแนะนำของเภสัชกรและการตอบสนองของแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลในรูปความถี่และร้อยละ
ผลการศึกษา : ยาที่สั่งใช้มากที่สุดคือ tazocin® มูลค่า 734,409 บาท (DDD = 3.18) ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาอย่างสมบูรณ์ ร้อยละ 70.50 ส่วนใหญ่ใช้ยาในการรักษาโรคปอดอักเสบมากที่สุด พบการสั่งใช้ยาแบบ empiric มากที่สุดถึงร้อยละ 61.93 เชื้อที่พบจากมากไปน้อย คือ เชื้อ Acinetobacter baumannii, K.pneumoniae, E.coli และ P.aeruginosa ตามลำดับ พบความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยา ร้อยละ 36.93 โดยยาที่สั่งใช้ไม่เหมาะสมมากที่สุด คือ tazocin®, meropenem และ sulperazone® การตอบสนองของแพทย์ต่อคำแนะนำของเภสัชกร พบว่าส่วนใหญ่ยอมรับและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคำสั่งใช้ยา ร้อยละ 85.63 นอกจากนี้ แพทย์มีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาต้านจุลชีพให้มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบลง (de-escalation therapy) ร้อยละ 22.28 และมีการเปลี่ยนวิธีบริหารยาจากการฉีดเป็นการให้ยาทางปาก ร้อยละ 24.16
สรุป : จากการสั่งใช้ยาทั้งหมด แม้ว่าการสั่งใช้ยาส่วนใหญ่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนด แต่ยังคงพบปัญหาการสั่งใช้ยาที่ไม่ตรงตามแนวทางที่กำหนดเกือบ ร้อยละ 40 คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดจึงจำเป็นต้องมีมาตรการกำกับติดตาม ร่วมกับการหาแนวทางการจัดการด้าน Infection Control และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางที่กำหนดจากผู้เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป
เอกสารอ้างอิง
วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. การดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. ใน: ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์, บรรณาธิการ. (2561). การส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 1-16.
ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาธร ลิ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล ลิ้มวัฒนานนท์. (2555). ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย : กรณีศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(3):352-60.
Rattanaumpawan P, Sutha P, Thamlikitkul V. (2010). Effectiveness of drug use evaluation and antibiotic authorization on patients’ clinical outcomes, antibiotic consumption, and antibiotic expenditures. Am J Infect Control, 38(1):38–43.
Ilse Truter. (2008). A Review of Drug Utilization Studies and Methodologies. Jordan Journal of Pharmaceutical Sciences, 1(2):91-104.
Rattanaumpawan P, Werarak P, Jitmuang A, Kiratisin P, Thamlikitkul V. (2017). Efficacy and safety of de-escalation therapy to ertapenem for treatment of infections caused by extended-spectrum-Beta-lactamase-producing Enterobacteriaceae: an open-label randomized controlled trial. BMC Infect Dis, 17(1):183.
B Jayakar, NA Aleykutty, Santhosh M Mathews. (2011). Changes in daily defined doses (DDD) of antibiotics after restricted use in medical inpatients. Journal of Applied Pharmaceutical Science, 1(6):220-2.
HOCollaboratingCentreforDrugStatisticsMethodology. (2017). GuidelinesforATCclassification and DDD assignment 2018. Norway : Norwegian Institute of Public Health.
กนกวรรณ พรหมพันใจ, จักรกฤษ หงส์ทอง, จอมพล มีชำนาญ. (2553). การประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพภายหลังการพัฒนากระบวนการประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารเภสัชกรรมคลินิก, 17(1-2):1-6.
ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์. การดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม. ใน: ภิญโญ รัตนาอัมพวัลย์, บรรณาธิการ. (2561). การส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 57-99.
เหม่ยเสียน พงศ์วิไลรัตน์. (2551). การประเมินการใช้ยาฏิชีวนะที่ต้องใช้ใบประกอบการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยใน. พุทธชินราชเวชสาร, 25:448-55.
Camins BC, King MD, Wells JB, Googe HL, Patel M, Kourbatova EV, et al. (2009). Impact of an Antimicrobial Utilization Program on Antimicrobial Use at a Large Teaching Hospital: A Randomized Con¬trolled Trial. Infect Control Hosp Epidemiol, 30(10):931-8.
Sözen H, Gönen I, Sözen A, Kutlucan A, Kalemci S, Sahan M. (2013). Application of ATC/DDD methodology to evaluate of antibiotic use in a general hospital in Turkey. Ann Clin Microbiol Antimicrob, 12:23.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-13 (3)
- 2021-08-02 (2)
- 2021-07-19 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.