การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
Deep neck infection in Phukhieo Chalermprakiat Hospital Chaiyaphum Province
Abstract
การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกเป็นปัญหาสำคัญและถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้าน หู คอ จมูก โดยการวินิจฉัยที่ถูกต้องถึงสาเหตุ เชื้อก่อโรค ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อน จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที แม้ว่าในปัจจุบันการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคลดลง เนื่องจากมียาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีกลุ่มผู้ป่วยที่อาการรุนแรงรวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนและเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิกของการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเชื้อที่เป็นสาเหตุก่อโรค ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนของการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 - 30 มิถุนายน 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระยะเวลาก่อนมาโรงพยาบาล อาการนำ สาเหตุของการติดเชื้อ ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ผลการเพาะเชื้อ วิธีการรักษา ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงกับเชื้อก่อโรค โดยใช้สถิติ chi-square, fisher exact test และระยะเวลานอนโรงพยาบาล โดยใช้สถิติ independent sample t-test (p-value < 0.05) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยวิธี multivariable logistic regression
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 168 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 53.0 อายุเฉลี่ย 46.6±22.8 ปี โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 23.2) รองลงมาคือ เบาหวาน (ร้อยละ 22.6) ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อมากที่สุดคือ buccal space (ร้อยละ 32.7) รองลงมาคือ submandibular space (ร้อยละ 20.2) พบการติดเชื้อหลายตำแหน่งในผู้ป่วย 49 ราย (ร้อยละ 29.2) สาเหตุหลักเกิดจากฟันผุ (ร้อยละ 74.4) พบภาวะแทรกซ้อน 24 ราย (ร้อยละ 14.3) มากที่สุด คือ sepsis (ร้อยละ 11.9) รองลงมาคือ upper airway obstruction (ร้อยละ 4.2) เชื้อสาเหตุก่อโรคมากที่สุดคือ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 13.0) โดยพบอุบัติการณ์ของ Klebsiella pneumoniae สัมพันธ์กับเบาหวาน (p = 0.003) และตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ parapharyngeal space (p = 0.011) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล คือ เบาหวาน (p = 0.001) ความดันโลหิตสูง (p = 0.025) การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (p = 0.000) และการมีภาวะแทรกซ้อน (p = 0.000) การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติกพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (multiple space infection) (ORadj = 5.9, 95%CI: 2.1-16.8, p = 0.001) เบาหวาน (ORadj = 3.6, 95%CI: 1.2-10.8, p = 0.012) และ โลหิตจาง (ORadj = 4.1, 95%CI: 1.4-12.0, p = 0.022)
สรุปผล : การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฟันผุ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันจะช่วยป้องกันและลดอุบัติการณ์ได้ การวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง อาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายคุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยได้
คำสำคัญ : การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก, สาเหตุการติดเชื้อ, ภาวะแทรกซ้อน, ระยะเวลานอนโรงพยาบาล
Deep neck infection is the importance problem and considered as an emergency in department of Otorhinolaryngology. An accurate diagnosis of the etiology, pathogen, location, and complications will ensure the patient receives in time appropriate treatment. Although at present the incidence and severity of the disease has decreased, due to the higher efficiency of antibiotics, there are still a number of patients, however, who have severe symptoms, including complications and life-threatening.
Objective : To study the general characteristics of the patient, clinical features of deep neck infection and risk factors that associated with the pathogen, length of stay and complications of deep neck infection in Phukhieo Chalermprakiat Hospital
Methods and materials : It is a retrospective descriptive study of patients diagnosed with deep neck infection between January 1st 2013 and June 30th 2020 was collected from inpatient medical records. General data were analyzed by chi-square, fisher exact test and independent sample t-test (p-value < 0.05). Risk factors for complications were analyzed by multivariable logistic regression method.
Result : All 168 patients were male 53.0%, mean age 46.6 ± 22.8 years. The most common underlying disease was hypertension (23.2%), followed by diabetes mellitus (22.6%). Buccal was the most frequent space of infection (32.7%), followed by submandibular space (20.2%). Multiple space infections were found in 49 patients (29.2%), the main cause was caries (74.4%), 24 patients were found to have complications (14.3%), sepsis was the most common (11.9%), followed by upper airway obstruction (4.2%), the most pathogenic was Klebsiella pneumoniae (13.0%). The incidence of Klebsiella pneumoniae was related to diabetes mellitus (p = 0.003) and parapharyngeal space infection (p = 0.011). Factors related to length of stay were diabetes (p = 0.001), hypertension (p = 0.025), multiple space infections (p = 0.000) and the presence of complications (p = 0.000). The multivariable logistic regression analysis indicated that significant risk factors associated with the occurrence of complications were multiple space infection (ORadj = 5.9, 95% CI: 2.1-16.8, p = 0.001), Diabetes mellitus (ORadj = 3.6, 95% CI: 1.2-10.8, p = 0.012) and anemia (ORadj = 4.1, 95% CI: 1.4-12.0, p = 0.022)
Conclusion : Deep neck infection in Phukhieo Chalermprakiat Hospital Chaiyaphum Province is most likely caused by dental caries. Promoting oral and dental health will help prevent and reduce the incidence. Accurate and prompt diagnosis and treatment, especially for people with risk factors may help reduce the complications that are life-threatening
Keywords : Deep neck infection, etiology, complication, length of stay
Downloads
Published
Versions
- 2021-08-13 (3)
- 2021-08-13 (2)
- 2021-07-19 (1)
Issue
Section
License
Copyright (c) 2021 Chaiyaphum Medical Journal : ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.