This is an outdated version published on 2021-07-19. Read the most recent version.

การอัลตร้าซาวด์วัดขนาดการบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์และการยุบบวมหลังคลอด

Ultrasound Assessment of Renal pyelectasis in pregnancy and postpartum resolution

Authors

  • Chongkon Klungsombut Radiology department Chaiyaphum Hospital, Chaiyaphum Province

Abstract

การบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์พบอุบัติการณ์ได้ ร้อยละ 80-90 และจะยุบบวมได้เองในช่วงหลายสัปดาห์หลังคลอด การตั้งครรภ์จะทำให้เกิดการกดทับท่อไตส่วยปลายทั้งสองข้าง และก่อให้เกิดการบวมของกรวยไตซึ่งจะบวมมากที่สุดที่อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาข้อมูลวัดขนาดการบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์และการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด 6 สัปดาห์

วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นแบบไปข้างหน้า ( prospective cross - sectional study) โดยทำการอัลตร้าซาวด์วัดขนาดการบวมของกรวยไตในช่วงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์และหลังคลอด 6 สัปดาห์ ช่วงเวลาดำเนินการระหว่างเดือน 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2564 ทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอายุของมารดา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์, จำนวนครั้งของการคลอดครบกำหนด, การคาดคะเนน้ำหนักของทารก ความยาวของไต ขนาดการบวมของกรวยไตและการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาขนาดการบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์และการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด 6 สัปดาห์ในคนไข้ทั้งหมด 41 คน พบว่ากรวยไตด้านขวาบวมขึ้นมากกว่ากรวยไตด้านซ้าย ค่าเฉลี่ยขนาดการบวมของกรวยไตขวาเมื่อทำการวัดขณะตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ คือ 4.39 มิลลิเมตร (Mean = 4.39, SD = 3.70) กรวยไตซ้าย คือ 2.78 มิลลิเมตร (Mean = 2.78, SD = 2.41)  ส่วนการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด 6 สัปดาห์ พบว่ากรวยไตซ้ายและขวายุบบวมลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กรวยไตด้านซ้ายมีค่าเฉลี่ยของการยุบบวม คือ 2.77 มิลลิเมตร (Mean = 2.77, SD = 1.48 95%CI 2.29-3.23) ส่วนกรวยไตขวามีค่าเฉลี่ยการยุบบวม คือ 2.17 มิลลิเมตร (Mean = 2.17, SD = 1.62, 95%CI 1.66-2.69)

สรุป : จากการศึกษานี้พบว่ากรวยไตด้านขวาจะบวมขึ้นมากกว่ากรวยไตด้านซ้ายเมื่อทำการวัดในขณะที่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์  หลังคลอด 6 สัปดาห์กรวยไตซ้ายและขวาจะยุบบวมลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 คำสำคัญ : การบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์ การยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด ไตบวมน้ำ

 

Renal pyelectasis during pregnancy has been reported to be up to 80% to 90% and spontaneously regress within several weeks postpartum. Compression of the distal ureters by the gravid uterus can be responsible for pyelectasis, more severe at 28 weeks of pregnancy.

Objective: The purpose of this study was to produce sonographic data for renal pyelectasis in 28-weeks of pregnancy and 6- weeks postpartum resolution.

Material and method: A prospective cross-sectional study was undertaken on pregnant women presenting for outpatient obstetric imaging during 1 December 2020 – 31 May 2021. For each side, the renal length and diameter of the renal pelvis were measured. Maternal age, gravidity, parity, and estimated fetal weight were recorded.

Result: A total of 41 women enrolled. At 28 weeks of pregnancy, right renal pelvis diameter on average were greater than the left side, being identified in 4.39 mm on the right and 2.78 mm on the left. At 6 weeks, postpartum had significantly renal pyelectasis resolution, 2.77 mm of left (Mean = 2.77, SD = 1.48 95%CI 2.29-3.23) and 2.17 mm of right (Mean = 2.17, SD = 1.62, 95%CI 1.66-2.69).

Conclusion: At 28 weeks of pregnancy, right renal pelvis diameter on average were greater than the left side. However, at 6 weeks, postpartum had significantly right and left renal pyelectasis resolution.

Key word: Renal pyelectasis during pregnancy, Regression of renal pyelectasis in postpartum, hydronephrosis

Downloads

Published

2021-07-19

Versions

Issue

Section

Original Article