การพัฒนาแนวปฏิบัติป้องกันอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดและวิกฤต โรงพยาบาลหัวหิน : The developmental clinical practice care model for prevention hypothermia of low birth weight infants in Huahin Hospital

Authors

  • Thongsook Roungsrisang

Abstract

บทคัดย่อ

          บทนำ : ภาวะอุณหภูมิกายต่ำเป็นปัญหาที่สำคัญ และพบได้บ่อในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาจนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

          วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติป้องกันอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในโรงพยาบาลหัวหิน

          วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยเพื่อพัฒนางานใช้ขั้นตอนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Action research with participation) ของผู้ปฏิบัติ วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 - 31 ธันวาคม 2557 มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ : ศึกษาเอกสารวิชาการ งานวิจัย และวิเคราะห์สถานการร์ ขั้นดำเนินการ : มี 3 วงจร คือ วงจรที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฎิบัติพัฒนาแนวปฎิบัติ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน วงจรที่ 2 นำไปทดลองใช้กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 30 ราย วงจรที่ 3 สรุปผลการศึกษาโดยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในวงจรที่ 2 และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ (Analysis statitic) โดยใช้ One way Repeated measure ANOVA on one Factor

          ผลการศึกษา : ทารกแรกเกิดมีอายุครรภ์เฉลี่ย 31.8±3.8 สัปดาห์ คะแนนแอฟการ์ (APgar score) เฉลี่ยที่ 1 นาทีแรกเกิด 8.2±1.6 คะแนน คะแนนแอฟการ์ (Apgar score) เฉลี่ยที่ 5 นาทีแรกเกิด 9.5±0.7 คะแนน เป็นทารกเพศหญิง ร้้อยละ 66.7 น้ำหนัแรกเกิดเฉลี่ย 1,768±3.9 กรัม อุณหภูมิหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดและวิกฤตเฉลี่ย 27.1±0.5 องศาเซลเซียส ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่อุณหภูมิกายทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมเป็นรายคู่พบว่า การวัดซ้ำคู่ของการวัดครั้งที่ 1 (อุณหภูมิการเฉลี่ยแรกรับ) และการวัดครั้งที่ 2 (อุณหภูมิการที่ 30 นาที) คู่ของการวัดซ้ำครั้งที่ 3 (อุณหภูมิกายที่ 60 นาที) และคู่ของการวัดซ้ำครั้งที่ 4 (อุณหภูมิกายที่ 90 นาที) และครั้งที่ 5 (อุณหภูมิกายที่ 120 นาที)นั้นมีค่าเฉลี่ไม่แตกต่างกัน นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          สรุป : การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม นี้สามารถนำไปใช้ได้ในคลินิกนั้นสามารถป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำได้โดยมีผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าการพยาบาลตามปกติ

 

 

Abstract

         Introduction : Hypothermia was one of the mist crucial issues for health care providers in routine low birth weight infants care. It has been recognized as a singificant attribute to morbidities and mortalities in this age group.

          Objective : To developmental clinical practice care model for prevention hypothermia of low birth weight in Huahin hospital.

          Methods : Action research with participation was conducted on may 2014, 1 - December 2014, 31 and two strep : strep I : prepare the researcher, health team and analyzed situation for clinical practice caremodel for prevention hypothermia of low birth weight infants and reviewed content validity by three experts. Strep II was 3 cycle. Cycle I : Health teams were developmental clinical practice care model for prevention hypothermia of low birth weight infans. Cycle II : Implementation of the developmental care model on thirty birth weight newborn. Cycle III : evaluation developmental care model and analyzed deta by percentage mean standard deviation and One Way Repeated measure ANOVA on one factor.

          Results : The newborn was mean gestational age 31.8±3.8 weeks, mean Apgar score at one minute 8.2±1.6 score, at five minute 9.5±0.7 score, mwan body weight 1,768±3.9 grams, mean temperature at ward 27.1±0.5 degree Celsius. The core temperature was serially measured at first admission 30, 60, 90 and 120 minute. The repeated pairs of measurements between at admission and 30 minute, the pair of repeated measurements between at 60 minutes and 90 minutes, the pair of repeated measurements between at 90 minutes and 120 minutes and the data were not sgnificantly different. There was a significant difference statistically.

           Conclusion : The developmental ckinical practice care model for prevention hypothermia of low birth weight infants can be used in the clinic, prevented hypothermia and effective than more the routine care.

Published

2019-08-01

Issue

Section

Original Article