ผลของกระบวนการ Medication Reconciliation ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในระบบบริการผู้ป่วยใน : The Effects of Medication Process In the In-Patient with Chronic Disease

Authors

  • Thanyaporn Yuttachamnan

Abstract

บทคัดย่อ 

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการ Medication reconciliation ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา ตั้งแต่ขั้นตอนแรกรับจนถึงจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โดยกาารทบทวนจากเวชระเบียน แฟ้มผู้ป่วยใน และแบบบันทึก Medication reconciliation and Administration record Form ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 โดยทบทวนความสอดคล้องของรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับต่อเนื่องก่อนเข้าโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับรายการยาที่แพทย์สั่งเมื่อแรกรับ และเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

          ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์ จำนวน 297 ราย พบอัตราการเกิด Potential harm ในขั้นตอนแรกรับ ขั้นตอนจำหน่าย และทั้งตอนแรกรับและจำหน่าย ร้อยละ 20.88, 3.70 และ 9.76 ตามลำดับ ประเภทความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบส่วนใหญ่ คือแพทย์ไม่ได้สั่งใช้ยาเดิม ในขั้นตอนแรกรับ ร้อยละ 60.44 และ ในขั้นตอนจำหน่าย ร้อยละ 62.50 ไม่พบความคลาดเคลื่อนทางยาในระดับความรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย โดยระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบส่วนใหญ่ในขั้นตอนแรกรับ และขั้นตอนจำหน่าย เป็นระดับ B ร้อยละ 67.03 และร้อยละ 70.00 ตามลำดับ พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 92.93 มีการดำเนินการบวนการ Medication reconciliation ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

          จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่ากระบวนการ Medication reconciliation เป็นกระบวนการที่สามารถป้องกันและแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ และเพื่อให้เกิดระบบการบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ควรมีการขยายผลการดำเนินการตั้งแต่รับผู้ป่วยรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ก่อนที่แพทย์จะสั่งให้ยา เพื่อป้องกันการคลาดเคลื่อนทางยาก่อนที่จะถึงตัวผู้ป่วย และการส่งต่อข้อมูลรายการยาหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเพื่อนัดติดตามการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก

Published

2019-08-01

Issue

Section

Original Article