การศึกษาแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ด้านการบริการปฐมภูมิ : The Study of Service Plan on Primary Care

Authors

  • Kavalin Chuencharoensuk

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่องแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ด้านการบริการปฐมภูมิ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านบริการปฐมภูมิ ตามแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary research) โดยการรวบรวมแนวคิดในการจัดบริการปฐมภูมิและข้อมูลการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวมของเขตบริการสุขภาพ จำนวน 12 เขตบริการสุขภาพ ที่เน้นการเข้าถึงบริการที่ดีขึ้น (ฺBetter Service &More Efficiency) ที่จัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2556

          ผลการศึกษาพบว่า บริการที่สำคัญในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ควรมี คือการจัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ครอบคุมกระบวนการบริการสุขภาพทั้ง 4 มิติ ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และมีการให้บริการแบบผสมผสาน ทั้งในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพมีการให้บริการต่อเนื่อง ดูแลตั้งแต่ก่อนเจ็บป่วย จนถึงหลังเจ็บป่วย อย่างเป็ฯองค์รวม มีการประสานเชื่อมโยงเพื่อให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ  เน้นการดูแลเชิงสังคม ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ โดยมีบริการหลักที่สำคัญคือ

          1. การจัดบริการแบบเวชศาสตร์ครอบครัว โดยให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ แก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีขอบเขตการให้บริการทั้งเชิงรับ และการให้บริการเชิงรุก

          2. การจัดบริการด้านสุขภาพจิตและสุขภาพจิตชุมชน ที่ให้บริการแก่ชุมชนทางด้านการส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตในบุคคลทั่วไป และการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในบุคคลกลุ่มเสี่ย

          3. การจัดบริการด้านการฟื้นฟูสภาพ ที่เน้นการทำงานแบบสหวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน

          4. การจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทย เป็นการแพทย์องค์รวมที่ดูแลสุขภาพทั้งกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้การดูแลที่งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ

          โดยหน่วยที่จัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ ควรแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ระดับปฐมภูมิเขตเมือง ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชน (ศสม.) ที่ควรมีการจัดบริการตามแนวทางที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างครบถ้วน ควรมีแพทย์ให้บริการเป็นการประจำ เน้นความทันสมัยให้เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับคนเมือง ส่วนที่ 2 คือ ระดับปฐมภูมิเชตชนบท ได้แก่ โรงพยาบาลสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้บริการตามแนวทาง โดยมีโรงพยาบาลชุมชนเป็นแม่ข่ายในการสนับสนุน และให้คำปรึกษา

Published

2019-08-01

Issue

Section

Original Article