ผลกระทบของสภาวช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ : Oral Impacts on Life Quality of Elderly in Khonsan District Chaiyaphum Province.

Authors

  • Anong Phudphong

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสง เพื่อศึกษาผลกระทบของสภาวะช่องปาก ต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จากทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9 แห่ง ในปี 2555 จำนวน 216 คน คัดเลือกโดยทำการสุ่มแบบง่ายจากรายชื่อที่ลงทะเบียนทั้งหมด 490 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจสอบสภาวะช่องปากและแบบสอบถาม โดยใช้ดัชนี Oral Impacts on Daily Performance (OIDP) ประเมินจากค่าความรุนแรงคูณความถี่ของปัญหาในช่องปากที่เกิดขึ้นต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ใน 8 กิจกรรมหลัก และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ดัชนี OIDP สภาวะช่องปาก พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ และตัวแปรทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ Chi-square 

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 58.3 มีฟัน 20 ซี่ขึ้นไป และสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 12.0 โดยจำนวนฟันที่มีในช่องปากเฉลี่ยคือ 18.95 ซี่ ผู้สูงอายุ ร้อยละ 31.0 มีจำนวนฟันคู่สบในฟันหลัง 4-7 คู่ และไม่มีฟันคู่สบเลย ร้อยละ 24.5 โดยมีฟันคู่สบเฉลี่ย 3.67 คู่ จากการศึกษาผลกระทบของสภาวะช่องปากต่อคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 54.2 มีคุณภาพชีวิตที่ดีมาก โดยไม่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับปัญหาในช่องปากแม้แต่ด้านเดียว (OIDP=0) และร้อยละ 45.8 ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 1 ด้าน โดยได้รับผลกระทบระดับต่ำ ร้อยละ 21.8 ระดับปานกลาง ร้อยละ 13.4 และระดับสูง ร้อยละ 10.6 ซึ่งผลกระทบที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่พบมากที่สุด คือด้านการกินอาหาร พบร้อยละ 39.4 รองลงมาคือ ด้านการยิ้ม หัวเราะ หรือโชว์ฟันให้ผู้อื่นเห็นโดยไม่อับอาย อาการสำคัญที่เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบคือ ความเจ็บปวด และการทำหน้าที่ในช่องปากไม่ปกติ ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการสูยเสียฟันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่จำนวนความถี่ในการทำความสะอาดช่องปาก จำนวนฟันที่มีในปาก และจำนวนฟันคู่สบในฟันหลัง

Published

2019-08-01

Issue

Section

Original Article