การพยาบาลผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจและท่อหลอดลมคอ : กรณีศึกษา : Nursing Care for the patient with Ischemic Stroke and Acute Respiratory Failure and Tracheostomy : Case Study

Authors

  • Waliporn Wongthai

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันต้องใส่เครื่องช่วยหายใจและท่อหลอดลมคอ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2557 กรณีศึกษาคือ ผู้หญิงงไทย คู่ อายุ 63 ปี ไปรักษาที่โรงพยาบาลเนินสง่า ด้วยอาการชักเกร็ง วิงเวียน เหนื่อยเพลีย แล้วส่งต่อมาโรงพยาบาลชัยภูมิด้วยอาการสำคัญคือ ชักเกร็งก่อนมา 1 ชั่วโมง อาการแรกรับที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีอาการชักเกร็งทั้งตัว ซึม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ HCT=27.0%, WBC=14.1 k/uL, RBC=3.24 m/uL, HGB=9.0 g/dL, NE=89.7%, LY= 5.8%, MO=9.6%, INR=1.01, aPTT=20.04, BUN=55 mg/dl, Creatinine=3.5 mg/dl, Calcium=7.8 mg/dL, Phosphorus=5.5 mg/dL, Magnesium=1.5 mg/dL, Albumin=3.8 g/dL, Sodium (Na)=121 mmol/L, Potassium (K)=3.4 ,,ol/L, Cl=98, Bicarbonate (CO2)=17 mmol/L, CXR พบ Pneumonia, culture จาก Tracheal suction catheter พบ Acinetobacter baumannii (MDR) รับไว้รักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 ผู้ป่วยหายใจลำบากใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้ Bird's raspirator setting Assisted control, rate=20/m, PIP=12 cmHO2, PEEP=5 cmHO2, FiO2=1.0 ได้ 3 วัน ผู้ป่วยยังมีอาการชักเกร็งความรู้สึกตัวลดลง ย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก 16 วัน ผู้ป่วยอาการดีขึ้น หย่าเครื่องช่วยหายใจไม่ได้ ได้รับการเจาะหลอดลมคอและใส่ท่อหลอดลมคอในวันที่ 19 ของการเข้ารับการรักษา และย้ายกลับหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 ในวันที่ 20 จนจำหน่าย 

          การรักษาที่ได้รับคือ ให้ 0.9๔ NSS 1,000 ซีซี iv. drip 100 cc/hr. Retain Foley's cath. Retain NG Tube, 50% MgSO4 4 ml.+5% D/W 100 ml. iv. drip in 4 hr., ASA (300) 1 tab O stat, plavix (75) 4 tab O stat, ASA (81) 1 tab OD, Simvas (20) 1 tab OD, plavix (75) 1 tab OD วันที่ 3 หอบ % Beradual 1 NB พ่น q 6 hr., Cef3 2 gm. iv. OD, Clinda 600 mg. iv q 8 hr. Dilantin 750 mg.+NSS 100 ml. iv. drip, Lasix 40 mg. iv. Stat., Dexa 8 mg. Sulpenrazone 1.5 gm. iv. q 8 hr.

          พบปัญหาทางการพยาบาลที่สำคัญดังนี้ 1)การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าชลดลงจากพยาธิสภาพของโรค และการชักเกร็ง 2)มีภาวะการเสียสมดุลของสารน้ำ และ electrolyte จากพยาธิสภาพของโรค 3)การขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเสมหะเหนียวข้น และแผลที่คาท่อหลอดลมคอไว้ ทำให้การไอไม่มีประสิทธิภาพ 4)การติดเชื้อในระบบทางดินหายใจจากการใส่ท่อช่วยหายใจ 5)การสื่อสารด้วยคำพูดบกพร่องเนื่องจากขาดความรู้และทีกษะในการสื่อสารขณะคาท่อหลอดลมคอจากพยาธิสภาพของโรค 6)ไม่สามารถดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันเนื่องจากมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว 7)ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ไม่เพียงพอในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน หลังเข้ารับการรักษาได้ 40 วันให้การรักษาและพยาบาล ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามแก่ชีวิต การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การจัดการอาการรบกวน การให้ความรู้กับโรคที่เป็น เตรียมผู้ดูแลในการดูแลตนเองที่บ้าน  ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับให้กลับบ้าน นัดตรวจซ้ำอัก 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด อาการทั่วไปดีขึ้น

Published

2019-08-01

Issue

Section

Original Article