การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นันทกร ดำรงรุ่งเรือง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก, สาเหตุการติดเชื้อ, ภาวะแทรกซ้อน, ระยะเวลานอนโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกเป็นปัญหาสำคัญและถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้าน หู คอ จมูก โดยการวินิจฉัยที่ถูกต้องถึงสาเหตุ เชื้อก่อโรค ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อน จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที แม้ว่าในปัจจุบันการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคลดลง เนื่องจากมียาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีกลุ่มผู้ป่วยที่อาการรุนแรงรวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนและเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิกของการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเชื้อที่เป็นสาเหตุก่อโรค ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนของการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 - 30 มิถุนายน 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ได้แก่ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระยะเวลาก่อนมาโรงพยาบาล อาการนำ สาเหตุของการติดเชื้อ ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ผลการเพาะเชื้อ วิธีการรักษา ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงกับเชื้อก่อโรค โดยใช้สถิติ chi-square, fisher exact test และระยะเวลานอนโรงพยาบาล โดยใช้สถิติ independent sample t-test (p-value < 0.05) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยวิธี multivariable logistic regression

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 168 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 53.0 อายุเฉลี่ย 46.6±22.8 ปี โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 23.2) รองลงมาคือ เบาหวาน (ร้อยละ 22.6) ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อมากที่สุดคือ buccal space (ร้อยละ 32.7) รองลงมาคือ submandibular space (ร้อยละ 20.2) พบการติดเชื้อหลายตำแหน่งในผู้ป่วย 49 ราย (ร้อยละ 29.2) สาเหตุหลักเกิดจากฟันผุ (ร้อยละ 74.4) พบภาวะแทรกซ้อน 24 ราย (ร้อยละ 14.3) มากที่สุด คือ sepsis (ร้อยละ 11.9) รองลงมาคือ upper airway obstruction (ร้อยละ 4.2) เชื้อสาเหตุก่อโรคมากที่สุดคือ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 13.0) โดยพบอุบัติการณ์ของ Klebsiella pneumoniae สัมพันธ์กับเบาหวาน (p = 0.003) และตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ parapharyngeal space (p = 0.011) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล คือ เบาหวาน (p = 0.001) ความดันโลหิตสูง (p = 0.025) การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (p = 0.000) และการมีภาวะแทรกซ้อน (p = 0.000) การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติกพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (multiple space infection) (ORadj = 5.9, 95%CI: 2.1-16.8, p = 0.001) เบาหวาน (ORadj = 3.6, 95%CI: 1.2-10.8, p = 0.012) และ โลหิตจาง (ORadj = 4.1, 95%CI: 1.4-12.0, p = 0.022)

สรุปผล : การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฟันผุ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันจะช่วยป้องกันและลดอุบัติการณ์ได้ การวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง อาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายคุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง

A Alaani, H Griffiths, SS Minhas, J Olliff, AB Drake Lee. (2005). Parapharyngeal abscess: diagnosis, complications and management in adults. Eur Arch Otolaryngol, 262(4):345-50.

James M Coticchia, Geoffrey S Getnick, Romy D Yun, James E Arnold. (2004). Age, site, and time specific differences in pediatric deep neck abscesses. Arch Otolaryngol Head Neck Surg, 130(2):201-7.

Vieira F, Allen SM, Stocks RMS, Thompson JW. (2008). Deep neck infection. Otolaryngol Clin North Am, 41(3):459-83.

Wang LF, Kuo WR, Tsai SM, Huang KJ. (2003). Characterizations of life-threatening deep cervical space infections: a review of one hundred ninety-six cases. Am J Otolaryngol, 24(2):111-7.

Poeschl PW, Spusta L, Russmueller G, Seemann R, Hirschl A, Poeschl E, et al. (2010). Antibiotic susceptibility and resistance of the odontogenic microbiological spectrum and its clinical impact on severe deep space head and neck infections. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod, 110(2):151-6.

Kongtangchit P. (2013). Deep neck infection: comparison of clinical course and outcome between diabetic and non-diabetic patients. Thai J Otolaryngol Head Neck Surg, 14(6):35-51.

Oliver ER, Gillespie MB. Deep neck infections. In : Flint PW, Haughey BH, Lund VJ, et al, eds. (2010). Cummings otolaryngology head & neck surgery. 5th ed. Philadelphia: Mosby Elsevier, p.201-8.

พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. (2561). การอักเสบติดเชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 62(5):365-74.

รัศมี ซึ่งเถียรตระกูล. (2550). การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. [งานวิจัยเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา]. กรุงเทพฯ.

กรภัทร์ เอกัคคตาจิต. (2562). ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(3):321-32.

Srivanitchapoom C, Pattarasakulchai T, Sittitrai P, Tananuvat R. (2012). Deep neck infection in Northern Thailand. Eur Arch Otorhinolaryngol, 269(1):241-6.

โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. (2563). ข้อมูลเวชระเบียนและสถิติ ปี 2556-2563. ชัยภูมิ : งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ.

Suetrong S, Reechaipichitkul W, Chainansamit S, Piromchai P. (2017). Deep neck infection in adults: factor associated with complicated treatment outcomes. Journal of the Medical Association of Thailand, 100(8, SUPPL 6):179-88.

พัชรินทร์ วัชรินทร์ยานนท์. (2557). การศึกษาภาวะติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์เวชสาร, 29(1):32-42.

วิชาญ จงประสาธน์สุข. (2554). การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลน่าน. ลําปางเวชสาร, 37(2):42-50.

อัศวิน เรืองมงคลเลิศ. (2560). การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 4(3):5-15.

วราลักษณ์ ยั่งสกุล, พิชญ์ นาฏศรีเมฆารัตน์. (2563). ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต11, 34(4):1-12.

Lee JK, Kim HD, Lim SC. (2007). Predisposing factors of complicated deep neck infection: an analysis of 158 cases. Yonsei Medical Journal, 48(1):55-62.

ชวน ชีพเจริญรัตน์. (2560). ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและการเสียชีวิตในโรงพยาบาลประชานุเคราะห์. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า, 18(1):44-55.

Atishkumar B Gujrathi, Vijayalaxmi Ambulgekar, Pallavi Kathait. (2016). Deep neck space infection - A retrospective study of 270 cases at tertiary care center. World J Otorhinolaryngol Head Neck Surg, 2(4):208-13.

ชูเกียรติ วงศ์นิจศีล. (2551). การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อและมีฝีหนองของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอ ในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร, 32(2):147-54.

Leibovici L, Yehezkelli Y, Porter A, Regev A, Krauze I, Harell D. (1996). Influence of Diabetes Mellitus and Glycaemic Control on the Characteristics and Outcome of Common Infections. Diabetic Med, 13(5):457-63.

Lee YQ, Kanagalingam J. (2011). Bacteriology of deep neck abscesses: a retrospective review of 96 consecutive cases. Singapore Med J, 52(5):351-5.

อนวัช วรรธนะมณีกุล. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผลลัพธ์การรักษาการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3):665-78.

สาธิต ก้านทอง. (2551). การศึกษาย้อนหลังอุบัติการณ์และผลการรักษาการติดเชื้อเป็นฝีหนองที่คอและช่องใบหน้าผู้ป่วย 491 รายที่โรงพยาบาลชัยภูมิตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2550. ขอนแก่นเวชสาร, 32(ฉบับพิเศษ 3):153-64.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน