การอัลตร้าซาวด์วัดขนาดการบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์และการยุบบวมหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • จงกล คลังสมบัติ แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์ , การยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด , ไตบวมน้ำ

บทคัดย่อ

การบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์พบอุบัติการณ์ได้ ร้อยละ 80-90 และจะยุบบวมได้เองในช่วงหลายสัปดาห์หลังคลอด การตั้งครรภ์จะทำให้เกิดการกดทับท่อไตส่วยปลายทั้งสองข้าง และก่อให้เกิดการบวมของกรวยไตซึ่งจะบวมมากที่สุดที่อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาข้อมูลวัดขนาดการบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์และการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด 6 สัปดาห์

วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นแบบไปข้างหน้า ( prospective cross - sectional study) โดยทำการอัลตร้าซาวด์วัดขนาดการบวมของกรวยไตในช่วงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์และหลังคลอด 6 สัปดาห์ ช่วงเวลาดำเนินการระหว่างเดือน 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2564 ทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอายุของมารดา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์, จำนวนครั้งของการคลอดครบกำหนด, การคาดคะเนน้ำหนักของทารก ความยาวของไต ขนาดการบวมของกรวยไตและการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาขนาดการบวมของกรวยไตในหญิงตั้งครรภ์และการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด 6 สัปดาห์ในคนไข้ทั้งหมด 41 คน พบว่ากรวยไตด้านขวาบวมขึ้นมากกว่ากรวยไตด้านซ้าย ค่าเฉลี่ยขนาดการบวมของกรวยไตขวาเมื่อทำการวัดขณะตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ คือ 4.39 มิลลิเมตร (Mean = 4.39, SD = 3.70) กรวยไตซ้าย คือ 2.78 มิลลิเมตร (Mean = 2.78, SD = 2.41)  ส่วนการยุบบวมของกรวยไตหลังคลอด 6 สัปดาห์ พบว่ากรวยไตซ้ายและขวายุบบวมลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กรวยไตด้านซ้ายมีค่าเฉลี่ยของการยุบบวม คือ 2.77 มิลลิเมตร (Mean = 2.77, SD = 1.48 95%CI 2.29-3.23) ส่วนกรวยไตขวามีค่าเฉลี่ยการยุบบวม คือ 2.17 มิลลิเมตร (Mean = 2.17, SD = 1.62, 95%CI 1.66-2.69)

สรุป : จากการศึกษานี้พบว่ากรวยไตด้านขวาจะบวมขึ้นมากกว่ากรวยไตด้านซ้ายเมื่อทำการวัดในขณะที่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์  หลังคลอด 6 สัปดาห์กรวยไตซ้ายและขวาจะยุบบวมลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เอกสารอ้างอิง

Wadasinghe SU, Metcalf L, Metcalf P, Perry D. (2016). Maternal Physiologic Renal Pelvis Dilatation in Pregnancy. J Ultrasound Med 35(12): 2659-64.

Peng HH, Wang CJ, Yen CF, Chou CC, Lee CL. (2003). Huge maternal hydronephrosis; a rare complication in pregnancy. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol, 108(2):223-5.

Grenier N, Pariente JL, Trillaund H, Soussotte C, Douws C. (2000). Dilatation of the collecting system during pregnancy; physiology vs obstructive dilatation. Eur Radiol, 10(2): 271-9.

Peake SL, Roxburhg HB, Langlois SLP. (1983). Ultrasound Assessment of Hydronephrosis of pregnancy. Radiology, 146:167-70.

Szkodziak P. (2018). Ultrasound screening for pyelectasis in pregnant woman. Clinical necessity or “art for art ’s sake”?. J Ultrason, 18(73):152-7.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-13

เวอร์ชัน