การพัฒนาคุณภาพการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ด้วยระบบไร้กระดาษ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ดอกจันทร์ ศิริรัตน์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ , การเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ , ระบบไร้กระดาษ

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ปราศจากเชื้อให้มีความสะดวก ถูกต้องและรวดเร็ว เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

         วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์แบบไร้กระดาษและประเมินผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลชัยภูมิ

                 วิธีดำเนินการศึกษา การวิจัยเชิงพัฒนาทำการศึกษาในเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นตัวแทนหน่วยบริการผู้ป่วยทุกแห่งที่มีการใช้อุปกรณ์การแพทย์ปราศจากเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ CSSD paperless ที่สามารถปฏิบัติการด้วยระบบ Windows สำหรับการเบิก-จ่ายแบบไร้กระดาษผ่านระบบออนไลน์ ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามกระบวนการ Plan-Do-Check-Act (PDCA) ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกระยะเวลาการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired sample t-test  

ผลการศึกษา ปัญหาการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ล่าช้าที่สำคัญคือการส่งอุปกรณ์การแพทย์และรอบันทึกข้อมูลแบบจุดเดียวที่งานจ่ายกลาง หลังการใช้ระบบไร้กระดาษในการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ พบว่าลดจำนวนบุคลากรในขั้นตอนการแลกชุดอุปกรณ์จาก 88 คน เหลือ 8 คนต่อวัน ค่าใช้จ่ายในการทำให้ปราศจากเชื้อซ้ำลดลงร้อยละ 32.2 (56,310 บาท) ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลการเบิก-จ่ายลดลง 71 นาที (จาก 141 นาที เป็น 70 นาที) (mean diff. = 29 [95% CI: 67.6, 74.2]) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจต่อการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ด้วยระบบไร้กระดาษ ในภาพรวมระดับมากถึงร้อยละ 82.82

สรุปผล ระบบการเบิก-จ่ายอุปกรณ์การแพทย์ด้วยระบบไร้กระดาษมีความสะดวกและใช้งานง่าย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เวลาและแรงงานของบุคลากร ทำให้ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจและสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการออกแบบอาคารและสภาพแวดล้อมสถานบริการสุขภาพ: แผนกจ่ายกลาง. นนทบุรี : คณะทำงานโครงการจัดทำจัดทำคู่มือการออกแบบอาคารและสภาพแวดล้อมของสถานบริการสุขภาพ. กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2563.

Chaiyaphum Hospital. Annual report of central supply sterile department. Chaiyaphum: Infection Prevention and Control Department, Chaiyaphum Hospital. 2022.

กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565] สืบค้นจาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/kpi_template_edit%201.pdf

เมดิคอลไทม์. โรงพยาบาลกำแพงเพชร เดินหน้าสู่ Smart Hospital พัฒนาโปรแกรม “IPD Paperless KPHIS” ลดใช้กระดาษ ลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน.[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565] สืบค้นจาก: http://www.medi.co.th/news_detail41.php?qid=2076.

หจก. ภาสิน. โปรแกรมหน่วยจ่ายกลาง version 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565] สืบค้นจาก: http://www.pasin.co.th/index.php/2019-09-10-04-53-32.

Deming WE. Out of the crisis. Cambridge, MA: Massachusetts Institute of Technology Press. 1986.

โสภา คำชัยลึก, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, ทรียาพรรณ สุภามณี. การพัฒนาคุณภาพการตรวจบันทึกทางการพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิ. พยาบาลสาร. 2559;43(4):105-13.

สมเด็จ ภิมายกุล. การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับบริการนักศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการ ศึกษาภายในคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2564.

Kithammakunnit P. Reducing waiting time out patient department service in community hospital. Journal of the Thai Medical Informatics Association. 2020;6(1):28-31.

Lulejian A, Cantor MN. Measuring patient and staff satisfaction before and after implementation of a paperless registration system. Journal of Healthcare Management. 2018;63(3):e20-30.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18