This is an outdated version published on 2021-08-26. Read the most recent version.

การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ : Marketing Strategy for the Promotion of Access to Cervical Cancer Screening For The Women in Tambon Naphai and Tambon Ladyai,Mueng district,Chaiyaphum Province.

ผู้แต่ง

  • สุกิจ พรหมรับ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา  โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 5 ของมะเร็งในสตรีไทยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (pap smear) มีความสำคัญในการค้นหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งการรักษาได้ผลดี สามารถรักษาหายขาดได้

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด กับอัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเพื่อเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ ในกลุ่มศึกษา ก่อนและหลังดำเนินการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด

วิธีการศึกษา  เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) ศึกษาในพื้นที่ตำบลนาฝายและตำบลลาดใหญ่  อำเภอเมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มศึกษา 112 คนจากตำบลนาฝาย ซึ่งใช้กลยุทธ์ทางการตลาด กลุ่มเปรียบเทียบ 78 คน จากตำบลลาดใหญ่ ดำเนินตามวิธีปกติ ระยะเวลาการศึกษา 1-31 มีนาคม 2560  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ด้านความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค ด้านความรู้เท่ากับ 0.75 ความเชื่อด้านสุขภาพเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา  แจกแจงความถี่   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-square วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ ด้วย Paired t-test และ  Independent t –test

ผลการศึกษา  กลุ่มที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด เข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 62.93 ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 17.77  ซึ่งกลุ่มที่ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด มีอัตราการเข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังดำเนินการในกลุ่มใช้กลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า หลังดำเนินการค่าเฉลี่ยของความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกมีค่าสูงขึ้น  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดสามารถกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น     จึงควรนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ในการกระตุ้นการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในทุกพื้นที่ และการสื่อสารให้ข้อมูลควรทำหลายๆรูปแบบ เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง การจัดกิจกรรมต้องสะดวกและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การตรวจที่ รพ.สต.และการออกหน่วยตรวจเคลื่อนที่ ในช่วงเวลาเลิกงาน เป็นต้น

 

ABSTRACT

Background:  Cervical cancer  was  the 5th  cause  of  death  among women  cancer in  Thailand .Pap smear was easy method for screening  of  cervical cancer, early  detection to  high success cure rate.

Objectives:  The objectives of this research  were  (1) to study correlation between marketing strategy and rate of access to cervical cancer screening, (2) to compare before - after mean of  knowledge  score  and  health belief  score  in  study  group.

Method: This study was Quasi – experimental research in Tambon Naphai and Tambon Ladyai , Mueng district, Chaiyaphum Province. Two study groups consist of group with 112 cases from Tambon Naphai  for marketing strategy  and  normal group (78 cases from Tambon Ladyai) . There were 30-60 years old women who never had history of illness about cervical cancer or got pregnant. Tools of research were leaflet, document of cervical cancer and   interview questions which contain of three parts; general information, Knowledge of cervical cancer and attitude of cervical cancer. That verified by experts and confidence testing by Cronbach’s alpha method. Experimental group with marketing strategy got motivated by healthcare staffs and local volunteers, Individual letter for invite. The period of study among 1st to 31th March 2017. Statistics including were descriptive statistics (frequency, Distribution, Percentage, Mean, Standard Deviation) and Inferential statistics (Chi-square test, Independent t-test, Pair t-test).

Result: The result of  this study showed  that , Marketing Strategy can increased rate of access to cervical cancer screening. The Cervical cancer screening access rate of the experimental and control groups were 62.93% and 17.77%  respectively. After  intervention  in  experimental  group found  that ,means  scores of  knowledge  and  means  scores of  health belief  about  cervical cancer  had  increase   than  before  (p-value<0.001)

Conclusion:  The study result confirms that Marketing Strategy could be applied and used in increasing Cervical cancer screening access rate in the target group. Hence, it is recommended that the model in this Study to be used in another areas in Chaiyaphum Province. We should establish mobile unit to do Cervical Cancer Screening in after work time.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

เวอร์ชัน