ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิ ปี 2558 : The Treatment of Diabetes mellitus Patients at Tambon Health Promoting Hospital in Mueang Chaiyaphum District, 2015.

ผู้แต่ง

  • Diana Sripornkitkachorn

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ความเป็นมา เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก อำเภอเมืองชัยภูมิ มีผู้ป่วยเบาหวาน 7,340 ราย รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งแบบใกล้บ้านใกล้ใจ จำนวน 3,672 ราย (ร้อยละ 50.03) การรักษาโรคเบาหวานมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพื่อป้องกันหรือชะลอกการเกิดภาวะแทรกซ้อน

          วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิ ปี 2558

          วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่รับการรักษาต่อเนื่องที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ เลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการประจำปี 2558 จำนวน 2,418 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการประจำปี 2558 วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสำพันธ์โดยสถิติ Chi-Square test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

          ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 80.8) อายุเฉลี่ย61.15±10.34 ปี อายุ>60 ปี (ร้อยละ 51.9) ผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดพบว่า FBS เฉลี่ย 159.03±55.77 mg% FBS 70-130 mg% (ร้อยละ 33.5, HbA1C เฉลี่ย 7.92±2.06% HbA1C<7% ร้อยละ 37.9 (เป้าหมายร้อยละ 40), Cholesterol≤200 mg/dl ร้อยละ 57.2, LDL<100 mg/dl ร้อยละ 38.4, HLD>45 mg/dl ร้อยละ 70.3, Triglyceride≤150 mg/dl ร้อยละ 51.5, Creatinine≤1.5 mg/dl ร้อยละ 93.1, eGFR>60 ร้อยละ 69.0, Urine microalbumin<30 (normal) ร้อยละ 84.8

          Cholesterol, HDL, Creatinine, Urine microalbumin มีความสัมพันธ์กับเพศชายและหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) HbA1C, FBS, HDL, Creatinine, Triglyceride, eGFR มีความสัมพันธ์กับช่วงอายุ <60 ปี และ ≥60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

          สรุป ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิ ส่งนใหญ่ยังควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีไขมันในเลือดสูง ดังนั้นการให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งการเสริมพลังและการติดตามต่อเนื่องจึงมีความสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01