การศึกษาความชุกของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดระบบอื่นๆ นอกเหนือจากระบบ เอ บี โอ ในผู้ป่วยโรงพยาบาลชัยภูมิ : Prevalence of antibodies to other blood group A, B, O system of patients in Chaiyaphum Hospital.

ผู้แต่ง

  • ศกลวรรณ มาตา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดและความถี่ของการตรวจพบแอนติบอดีชนิดต่างๆ ในผู้ป่วยที่มารักษาโดยการให้เลือด โรงพยาบาลชัยภูมิ และใช้เป็นแนวทางในการจัดเตรียมเลือดที่เข้ากันได้ให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง รวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากที่สุด จึงทำการศึกษาชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดในผู้ป่วยในโรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2554-30 กันยายน 2555 จำนวน 15,755 ราย ทำการตรวจคัดกรองและตรวจหาชนิดของแอนติบอดี (antibody scraaning & antibody identification) ด้วยวิธีหลอดมดลอง (standard tube test) และ gel test โดยใช้เซลล์มาตรฐาน O1, O2 (Screening cells) และ panel Cells ซึ่งผลิตโดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภาการชาดไทย ผลการศึกษาพบว่า มีซีรั่มที่ให้ผลบวกกับการตรวจกรองแอนติบิดี จำนวน 541 ราย (3.43%) สามารถบอกชนิดของแอนติบอดีได้ 478 ราย (88.35%) โดยพบแอนติบอดีระบบ Mns มากที่สุด จำนวน 221 ราย (40.85%) แอนติบอดีระบบ Rh พบรองลงมา 112 ราย (20.70%) Auto antibodies จำนวน 22 ราย (4.06%) แอนติบอดีระบบ Lewis จำนวน 17 ราย (3.14%) แอนติบอดีระบบ Kidd จำนวน 14 ราย (2.58%) แอนติบอดีระบบ Duffy จำนวน 7 ราย (1.46%) แอนติบอดีระบบ Diego จำนวน 6 ราย (1.25%) แอนติบอดีระบบ P จำนวน 2 ราย (0.42%) แอนติบอดีระบบ I จำนวน 2 ราย (0.42%)

          สรุปจากผลการศึกษาทำให้ทราบชนิดและความถี่ของแอนติบอดีที่พบได้บ่อยในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลชัยภูมิ ซึ่งมีประโยชน์ในการจัดเตรียมเลือดให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้เลือดบ่อยๆ เช่นในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เพื่อเป็นการป้องกันการสร้างแอนติบอดีจากการได้รับเลือด จึงควรจัดเตรียมเลือดชนิด Antigen E-c- และ Mi(a-) สำรองไว้ให้กับผู้ป่วยที่ต้องรักษาโดยการให้เลือดประจำ และในผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีหลายชนิด ธนาคารเลือดสามารถที่จะขอเลือดจากศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย มาสำรองไว้ก่อนที่ผู้ป่วยจะมารับการรักษา

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01