คุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอรัญประเทศ

ผู้แต่ง

  • ศุภกฤษฏิ์ กิจภากรณ์ โรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง, ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก, กระตุ้นให้ยืนเดิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหัก และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ.2562 – กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก 2) วิธีกระตุ้นให้ยืนเดินหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก ภายใน 48 ชั่วโมง และ 3) แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต (QOL) และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (ADL) ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากระดูกสะโพกหักหลังจากได้รับการผ่าตัด 6 เดือน

ผลการติดตามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หลังจากได้รับการผ่าตัด 6 เดือน ในมิติทางสุขภาพ พบว่า คะแนนอรรถประโยชน์ของสถานะสุขภาพ (mean utility index) เท่ากับ 0.838 และผลการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยด้วย ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึ่งตนเองได้ ร้อยละ 90.62 เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก กับผลการกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัด พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัดสำเร็จ ภายใน 48 ชั่วโมง มีค่าคะแนนอรรถประโยชน์ของสถานะสุขภาพ (mean utility index) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.002) และ มีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (Barthel ADL index) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

สรุป: ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ส่วนใหญ่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดีที่ระยะเวลา 6เดือนหลังผ่าตัด  และการกระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกยืนเดินหลังผ่าตัดได้สำเร็จภายใน 48 ชั่วโมง เป็นปัจจัยที่มีคุณประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง

Parker M, Johansen A. (2006). Hip fracture. British Medical Journal, 333(755):27-30.

Wongtriratanachai P, Luevitoonvechkij S, Songpatanasilp T, Sribunditkul S, Leerapun T,PhadungkiatS,et al. ( 2013). Increasing incidence of hip fracture in ChiangMai, Thailand. J ClinDensitom, 16(3):347-52.

ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2560). โครงการรณรงค์ลดการหักซ้ำของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ เนื่องในวันโรคกระดูกพรุนโลก. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

Gullberg B, johnell O, Kanis JA. (1997). Worldwide projections for hip fractrures. Osteoporosis International, 7(5):407-13.

มณฑา ลิ้มทองกุล. (2539). กระดูกหักในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2(3):96-111.

Peeters CMM. Visser E. Van de Ree CLP. Gosens T. Oudsten BLD. Vries JD. (2016). Quality of life after hip fracture in the elderly: A systematic literature review. Injury, 47(7):1369-82.

Oldmeadow LB, Bedib HS, Burch HT, Smith JS, Leahy ES, Goldwasser M. (2006). Experienced physiotherapists as gatekeepers to hospitalorthopaedic outpatient care. Med J Aust, 186(12):625-8.

Li S, Ouyang W, Li H, Wang X. (2017). Learning Feature Pyramids for Human Pose Estimation. arXiv:1708.01101.

มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. การวัดค่าอรรถประโยชน์. ใน อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์, [บรรณาธิการ]. (2557). คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที 2 พ.ศ. 2556. นนทบุรี : วัชรินทร์ พี.พี.

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือมาตรฐานบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alexiou KI, Roushias A, Varitimidis SE, Malizos KN. (2018). Quality of life and psychological consequences in elderly patients after a hip fracture: a review. Clin Interv Aging, 13:143-50.

Amphansap T, Sujarekul P. (2018). Quality of life and factors that affect osteoporotic hip fracture patients in Thailand. Osteoporos Sarcopenia, 4(4):140-4.

Horikawa A, Miyakoshi N, Shimada Y, Kodama H. (2014). Comparison of activities of daily living after osteoporotic hip fracture surgery in patients admitted from home and from geriatric health service facilities. Clin Interv Aging, 9:1847-51.

Koval KJ, K D Friend KD, Aharonoff GB, Zukerman JD. (1996). Weight bearing after hip fracture: a prospective series of 596 geriatric hip fracture patients. J Orthop Trauma, 10(8):526-30.

Siu AL, Penrod JD, Boockvar KS, Koval K, Strauss E, Morrison RS. (2006). Early ambulation after hip fracture: effects on function and mortality. Arch Intern Med, 166(7):766-71.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-17

เวอร์ชัน