Physical Exercise of Khon Kaen University Students - การออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract
Abstract
This descriptive study was set to ascertain the frequency and factors associated with, physical exercise among undergraduates of Khon Kaen University living in dormitories on campus in academic year 2003. The sampling units were dormitories so the questionnaire was distributed at 15 dormitories. Respondents (from a potential sample size of 2,350 persons) were selected using one stage cluster sampling; but, the rate of response was 48.9 percent. To analyze data with percent and 95% CI for estimation the rate of physical exercise and multiple logistic regression for finding the factors associated to physical exercise.
It was found that the rate of physical exercise over the last two months among undergraduates was 22.7 (95% CI: 15.5 - 29.9) and design effect was 7.5. The main reason for participation was for fitness, while the reason for not exercising was a lack of free time owing to the demands of studying. One-third (32.5%) of the respondents chose to jog.
The factors associated with exercise were sex and body mass index. (p-value < 0.001) Males exercised 2.8 times more than females (95% CI: 1.6 - 4.7) and those having a normal weight 3.3, 2 and 1.1 times more than thin, overweight and obese persons (95% CI: 2 - 5), (95% CI: 0.9 – 10), (95% CI: 0.5 - 2.5), respectively.
Judging from the low frequency of physical exercise, the university and its faculties systematically promote the benefits of physical exercise.
Key words: physical exercise, university student, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงรูปแบบการออกกำลังกาย และปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกาย ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษา หลักสูตรปริญญาตรี พักอาศัยอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงปีการศึกษา ๒๕๔๖ สุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่มขั้นตอนเดียว หน่วยสุ่มคือ หอพัก และคำนวณขนาดตัวอย่างได้ ๒,๓๕๐ คน แจกแบบสอบถาม จำนวน ๒,๓๕๒ ชุด ไปตามหอพักตัวอย่างต่าง ๆ ๑๕ หลัง ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ ๔๘.๙ จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ และ ๙๕% CI เพื่ออนุมานอัตราการออกกำลังกาย และวิเคราะห์ถดถอยพหุ แบบลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกาย
พบนักศึกษาร้อยละ ๒๒.๗ (๙๕% CI ๑๕.๔ – ๒๙.๙%) ที่ออกกำลังกายในรอบ ๒ เดือนที่ผ่านมา (design effect เท่ากับ ๗.๕) โดยเหตุผลหลักของการออกกำลังกาย คือ ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรง สำหรับกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย ให้เหตุผลหลักที่ไม่ออกกำลังกาย คือ ไม่มีเวลา โดยส่วนใหญ่ระบุว่าต้องอ่าน หนังสือ ทำรายงานส่งอาจารย์ ร้อยละ ๓๒.๕ เลือกออกกำลังกายด้วยการวิ่ง
ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกาย พบ ๒ ปัจจัย ได้แก่ เพศ และดัชนีมวลกาย (p-value < ๐.๐๐๑) โดยเมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัย พบเพศชายมีการออกกำลังกายเป็น ๒.๘ เท่าของเพศหญิง (๙๕% CI ๑.๖ - ๔.๗) ในส่วนของดัชนีมวลกาย เมื่อเทียบคนน้ำหนักตัวปรกติกับกลุ่มอื่น ๆ พบคนน้ำหนักตัวปรกติออก กำลังกายเป็น ๓.๓ เท่าของคนผอม (๙๕% CI ๒ - ๕ เท่า) ๒ เท่าของคนน้ำหนักมาก (๙๕% CI ๐.๙ - ๑๐ เท่า) และ ๑.๑ เท่าของคนอ้วน (๙๕% CI ๐.๕ - ๒.๕ เท่า)
เนื่องจากอัตราการออกกำลังกายของนักศึกษายังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ มหาวิทยาลัยอาจจะร่วมมือกับ สโมสรนักศึกษาของแต่ละคณะจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องโทษของการขาดการออกกำลังกายและรณรงค์เรื่องการออกกำลังกาย
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น