Ultrasound Evaluation of Biliary Obstruction in Chaoprayayomraj Hospital, Suphan Buri - การตรวจอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของระบบทางเดินน้ำดี ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี

Authors

  • Jongdee Jangsrisuk

Abstract

              A prospective study on the ability of ultrasound to accurately evaluate the site and cause of biliary obstruction compared with the postoperative diagnoses was carried out. It revealed 90 surgically proven cases entered into this series, in whom the sensitivity, specificity, and accuracy of ultrasound evaluation of the site of biliary obstruction were 98.8 percent, 85.7 percent and 97.8 percent respectively; of the cause of biliary obstruction were 97.6 percent, 85.7 percent and 96.7 percent respectively, respectively, which were relatively high in comparison with multiple previously published series.  So this study could support that in Chaoprayayomraj hospital, the screening role of ultrasound in differentiation between obstructive and nonobstructive biliary tract diseases could be extended to gain information of the site and cause of biliary obstruction, of the extension and operability of the tumor, to assess the presence of both ascites and metastatic foci in the liver thus aiding in the staging of neoplastic disease. It also could accurately guide further therapeutic maneuver, which were sufficient to evaluate patients prior to surgery,  while cholangiography (PCT and ERCP) and computed tomography (CT) should probably be used only when satisfactory ultrasound examination could not be obtained, in order to avoid the risk of the potentially hazardous complications of the procedures, contrast media administration and radiation; to reduce the high cost and the difficulty in referring the patients. Review of literatures concerning ultrasound evaluation of biliary obstruction were performed. Practical points of making ultrasound evaluation of biliary obstruction were discussed as :- technique of ultrasonographic examination, anatomical relationships of biliary tract,  criteria used in ultrasound diagnosis of biliary obstruction, determination and interpretation of its site and cause.     

Key words: ultrasound, biliary obstruction

                 การศึกษาวิจัยประยุกต์แบบไปข้างหน้านี้ เพื่อดูความสามารถของการตรวจอัลตร้าซาวด์หาตำแหน่งของการอุดตันของระบบทางเดินน้ำดี และวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของการอุดตัน โดยประเมินความแม่นยำเปรียบเทียบกับการวินิจจัยหลังผ่าตัด ผลการติดตามและทบทวนปรากฏว่าผู้ป่วยที่นำมาศึกษาได้ มีจำนวน 90 ราย และพบว่า sensitivity, specificity  และ accuracy ในการตรวจหาตำแหน่งของการอุดตัน ร้อยละ 98.8, 85.7 และ 97.3 และในการวินิจฉัย าเหตุของการอุดตัน ร้อยละ 97.6, 85.7 และ 96.7 ตามลำดับ ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับรายงานการศึกษาอื่น แสดงว่า การตรวจคัดกรองในการวินิจฉัยแยกโรคของระบบทางเดินน้ำดีที่เกิดจากการอุดตัน  กับที่ไม่ได้เกิดจากการอุดตัน  ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สามารถให้ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนการรักษาต่อไปรวมทั้งการประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัดได้อย่างเพียงพอและมีความแม่นยำสูงช่วยลดการส่งผู้ป่วยทำการตรวจระบบทางเดินน้ำดีโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าท่อน้ำดี ซึ่งต้องแทงเข็มผ่านตับ (PCT) หรือต้องส่องกล้องผ่านทางลำไส้เล็ก(ERCP) และ/หรือทำการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ได้  ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีอันตรายอย่างรุนแรง จากวิธีการตรวจเหล่านั้น จากการแพ้สารทึบรังสี และอันตรายจากรังสี  รวมทั้งเพื่อช่วยลดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็น และลดความลำบากยุ่งยากในการส่งต่อผู้ป่วยด้วย  ยกเว้นอาจจะส่งตรวจด้วยวิธีเหล่านั้นเฉพาะผู้ป่วยบางรายที่การตรวจอัลตร้าซาวด์ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอได้เท่านั้น  ในรายงานนี้ยังได้สรุปเทคนิคในการตรวจอัลตร้าซาวด์ หลักเกณฑ์ในการตัดสินว่ามีการอุดตันของระบบทางเดินน้ำดี การตรวจหาตำแหน่งของการอุดตัน และการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของการอุดตันในเชิงปฏิบัติจากการวิจัยครั้งนี้ และเปรียบเทียบกับรายงานอื่นๆ

คำสำคัญ:  การตรวจอัลตร้าซาวด์, การอุดตันของระบบทางเดินน

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2018-11-08

How to Cite

Jangsrisuk, J. (2018). Ultrasound Evaluation of Biliary Obstruction in Chaoprayayomraj Hospital, Suphan Buri - การตรวจอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของระบบทางเดินน้ำดี ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี. Journal of Health Science of Thailand, 17(Sup.3), SIII593–604. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5099

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)