The Assessment for Improving vaccination Program in a Health For All Provinces -การประเมินเพื่อพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในจัวหวัดสุขภาพดีถ้วนหน้า
Keywords:
-Abstract
The Minisrry of Public Health has implemented an accerelated program on Health For All in some selected provinces for 1993- l994. Many indicators (including those relating to vaccination) indicate the success of this program which corespond with "Mid Decade Goals" targets, In implementing theEPl activities, the existing infrastructure is being used without improvement or modification. The authors studied the rim management system and services provided in one "Health For All" province and found that the management system at provincial level was quite good except lack of supervision and monitoring. in comparison between the services provided in the hospitals and health centers. the laters had better planning,but both did not emphasize in importance of cold chain monitoring and injection technic.The authors also studied the coverage of vaccination in the province and found the coverage of 89% in first year, in contrast. the coverage of measles vaccine we only 65.4%. Japanese B encephalitis vaccine was 46.67%, and the second year coverage of DTP and OPV was 61.9%.
Base on the findings. the Office of Communicable Disease Control Region 10 and me Provincial Chief Medical Office had implemented a project to improve the service ability of all health centers in the province ranging from planning. implementation including evaluation. Further assessment on vaccination coverage will be performed again at the end of the project.
กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายเร่งรัดงานสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยคัดเลือกจังหวัดที่เหมาะสมเป็นเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัด และระยะเวลาคือ ปี 2536 – 2537 หนึ่งในกลุ่มของตัวชี้วัดซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายกึ่งทศวรรษเพื่อพัฒนาสุขภาพเด็กไทยคือ งานป้องกันโรคโดยวัคซีน ซึ่งประกอบทั้งโรคที่ต้องกวาดล้าง เช่น โปลิโอ และโรคที่ต้องการลดการป่วยและตายลง ในการนี้จังหวัดต้องดำเนินงานสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยใช้โครงสร้างและอัตรากำลังที่มีอยู่เดิม หน่วยงานของผู้เขียนจึงได้ศึกษาระบบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของหนึ่งจังหวัดสุขภาพดีถ้วนหน้าทั้งส่วนบริหารงานคือระดับจังหวัด และส่วนบริการคือโรงพยาบาลและสถานีอนามัย พบว่าระบบบริการมีระบบสนับสนุนที่ดี ขาดเฉพาะการนิเทศติดตามไปยังโรงพยาบาลและสถานีอนามัยระบบบริการพบว่าการวางแผนงานของสถานีอนามัยครบถ้วนมากกว่าทางโรงพยาบาล แต่หน่วยบริการทั้ง 2 ระดับยังไม่ค่อยให้ความสำคัญระบบลูกโซ่ความเย็นและเทคนิคการให้วัคซีนยังต้องการการนิเทศ แนะนำ เพื่อให้การศึกษาครบถ้วนผู้เขียนจึงศึกษาอัตราความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเขตจังหวัดด้วย ซึ่งพบว่า ความครอบคลุมของวัคซีนในปีแรกมีอัตราสูงถึงร้อยละ 89 แต่ความครอบคลุมของหัดต่ำ (ร้อยละ 65.4) และอัตราการรับวัคซีนในปีที่ 2 คือดีทีพี และโอพีวีกระตุ้นต่ำ(ร้อยละ 61.9) วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเข็มสองได้รับเพียงร้อยละ 46.67 จากจ้อมูลดังกล่าวหน่วยงานของผู้เขียนร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงได้ดำเนินการพัฒนาสถานีอนามัยซึ่งเป็นผู้บริการครอบคลุมเนื้อที่มากที่สุดของจังหวัดในทุกด้าน ตั้งแต่การวางแผนการปฏิบัติงานจนถึงการประเมินผล โยเน้นในทุกจุดที่มีปัญหา และประเมินผลสำเร็จจากการศึกษาระบบงาน และประเมินผลความครอบคลุมการรับวัคซีนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจบโครงการในช่วงแรก (ปี 2537) โดยจะประเมินความครอบคลุมในปี 2538