การศึกษาต่อหลังสำเร็จการศึกษาของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ทิพยรัตน์ สิงห์ทอง สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิราพร เขียวอยู่ สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บัณฑิต ถิ่นคำรพ สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กฤษดา แสวงดี สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ตวงทิพย์ ธีระวิทย์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

คำสำคัญ:

การศึกษาต่อ, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราการศึกษาต่อและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของพยาบาลวิชาชีพภายหลังจากการศึกษาต่อ โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยสุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย ซึ่งศึกษาในพยาบาลที่มีอายุระหว่าง 20 - 64 ปี จำนวน 18,756 คน การวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการศึกษาต่อนำเสนอเป็นอัตราต่อ 100 คน-ปี คู่กับค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพ 18,756 คน มีประวัติทำงานและเปลี่ยนแปลงลักษณะงานตั้งแต่เริ่มทำงานครั้งแรกจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 52,191ครั้งโดยในจำนวนนี้มีผู้ศึกษาต่อ 4,199 คน (4,991 ครั้ง) คิดเป็นอัตราอุบัติการณ์การศึกษาต่อเท่ากับ 1.22 ต่อ 100 คน-ปี (95%CI: 1.19-1.26) ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 20.32±9.92 ปี และระยะเวลาทำงานเฉลี่ยก่อนศึกษาต่อจำนวน 5.02 ปี (95%CI: 4.89-5.20) ภายหลังศึกษาต่อพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานด้านบริการลดลงจากเดิมร้อยละ 86.05 เป็นร้อยละ 77.77 ในขณะที่ปฏิบัติงานด้านวิชาการและบริหารเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 7.53 เป็นร้อยละ 10.84 และจากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 9.30 ตามลำดับ โดยสรุปกล่าวได้ว่าอัตราการศึกษาต่อของพยาบาลวิชาชีพ มีค่อนข้างต่ำ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 10 ปีมีจำนวนการศึกษาต่อมาก ภายหลังจากการศึกษาต่อพยาบาลวิชาชีพยังคงทำงานด้านบริการมากกว่าด้านอื่นถึงแม้ว่าจะมีจำนวนลดลงจากเดิมก็ตามแต่เป็นเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการวางแผนส่งเสริมการศึกษาต่อของพยาบาลควรคำนึงถึงระยะเวลาการทำงานและอายุของพยาบาลวิชาชีพเพื่อช่วยลดอัตราการสูญเสียพยาบาลวิชาชีพของไทยต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้