ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • กรวิกา คตอินทร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภรณี วัฒนสมบูรณ์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มลินี สมภพเจริญ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, สื่อสังคมออนไลน์, เนื้อหาเรื่องเพศ

บทคัดย่อ

การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศในวัยรุ่นเป็นปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญที่นำไปสู่การมีเพศ สัมพันธ์และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของการเปิดรับสื่อสังคม ออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศและปัจจัยที่สัมพันธ์และทำนายการเปิ ดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 390 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศที่เหมาะสม ด้วยสถิติทดสอบ ไค-สแควร์และการถดถอยโลจิสติกแบบทวิ ผลการวิจัยพบ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.1 มีการเปิ ดรับสื่อสังคม ออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศในระดับไม่เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 65.9 อยู่ในระดับที่เหมาะสม การวิเคราะห์การ ถดถอยโลจิสติกแบบทวิ พบเพียงสี่ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญและสามารถทำนายการเปิดรับสื่อสังคม ออนไลน์ที่มีเนื้อหาเรื่องเพศที่เหมาะสม ได้แก่ เพศ (Odds ratios=4.7, 95%CI=2.6-8.6) ความรู้เรื่องการใช้สื่อ (Odds ratios=2.3; 95%CI=1.3-4.1) เจตคติต่อการใช้สื่อ (Odds ratios=3.9; 95%CI=2.1-7.4) ทักษะการใช้ สื่อในการเข้าถึง(Odds ratios=2.5; 95%CI=1.3-4.7) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นความจำเป็นของกิจกรรมสุขศึกษา ในโรงเรียนเกี่ยวกับการสอนที่เน้นการเพิ่มความรู้และการสร้างเจตคติที่นำไปสู่การเข้าถึงอย่างรอบรู้ รวมทั้งส่งเสริม การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางบวกโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีทักษะในการเข้าถึงที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ