การพัฒนาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ตามระบบมาตรฐานด้านการจัดการ และสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ (P.S.O.)

ผู้แต่ง

  • วิรัช เกียรติเมธา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
  • สิทธิชัย จันทร์สีดำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

P.S.O. ระบบข้อมูล, ระบบบริการภาคเอกชน ประชาชน

บทคัดย่อ

                   การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังตามระบบมาตรฐาน P.S.O. 1101: ระบบข้อมูล และระบบมาตรฐาน P.S.O. 1107: ระบบบริการภาคเอกชน ประชาชน ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ - กันยายน ๒๕๔๗

                   กระบวนการจัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐาน P.S.O. ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนหลัก คือ การเตรียมการการจัดทำระบบมาตรฐาน การพัฒนาระบบมาตรฐาน และการตรวจรับรองระบบมาตรฐาน สำหรับผลการพัฒนาระบบมาตรฐานระบบข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลสนับสนุน ๓ ประเภท ๙ ฐานข้อมูล แยกเป็นข้อมูลสนับสนุนการกิจหลัก ๖ ฐานข้อมูล ข้อมูลสนับสนุนภารกิจรอง ๒ ฐานข้อมูล และข้อมูลสนับสนุนภารกิจสนับสนุนอีก ๓ ฐานชัยมูล ส่วนเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัด ประกอบด้วยเกณฑ์มาตรฐาน ๙ ด้าน ๑๓ ตัวชี้วัด พบว่าระดับของการพัฒนาระบบข้อมูลก่อนมีการพัฒนา มีคะแนนเฉลี่ย ๑.๓๓ (ต้องปรับปรุง) และหลังการพัฒนาโดยตําเนินการตามกิจกรรมยกระดับ พบระดับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น ๒.๗๘ (ค่อนข้างสมบูรณ์) กล่าวคือ โดยภาพรวมมีสภาพการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีมาตรฐานสูงขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานทุกเกณฑ์

                   สำหรับผลการพัฒนาระบบมาตรฐานระบบบริการภาคเอกชน ประชาชนมีกิจกรรมบริการ ๓ ด้าน ประกอบด้วย บริการสนับสนุนวิชาการ บริการการออกใบอนุญาต และบริการรักษาพยาบาลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดระบบดังกล่าวมีทั้งหมด ๑๐ ต้าน ๖๓ ตัวชี้วัด ก่อนมีการพัฒนามีระดับคะแนนเฉลี่ย ๑.๗ (ต้องปรับปรุง) แต่หลังจากมีการพัฒนาระบบแล้วมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น ๒.๖ (ค่อนข้างสมบูรณ์) จึงสรุปได้ว่า ระบบมาตรฐาน P.S.O. เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพหน่วยงานในภาครัฐ ให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีมีมาตรฐาน และสามารถวัดสัมฤทธิ์ผลจากการปฏิบัติงานได้ ซึ่งจะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง