ความชุกของโรคหนอนพยาธิ ในข่าวต่างชาติ ที่อพยพมาอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2551
คำสำคัญ:
หนอนพยาธิ, พยาธิแส้ม้า, ชาวต่างชาติอพยพ, ยาถ่ายพยาธิที่ออกฤทธิ์กว้างบทคัดย่อ
รายงานนี้นำเสนอผลการสำรวจความชุกของโรคหนอนพยาธิ ในชาวต่างชาติที่อพยพมาอาศัยอยู่ในเขต เทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก ในปี 2551 โดยการสุ่มเลือกตัวอย่างด้วยวิธี 30-cluster sampling technique ตัวอย่างอุจจาระของกลุ่มประชากรตัวอย่างได้รับการตรวจหาไข่พยาธิ ด้วยวิธี Kato-Katz thick smear technique วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ และค่าร้อยละ ใช้การทดสอบ chi-square test สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยกับการเป็นโรคหนอนพยาธิของข้อมูลแต่ละชุด และใช้ multiple logistic regression analysis เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคพยาธิ ผลการศึกษาในประชากรตัวอย่างรวม 1,751 ราย พบเป็นโรคพยาธิรวม 475 ราย คิดเป็นอัตราความชุกร้อยละ 27.1 พบความชุกสูงสุดในกลุ่มอายุ 15-24 ปี (34.7%) รองลงไปได้แก่ กลุ่มอายุ 5-14 ปี (31.1%) ความชุกของโรคพยาธิมีแนวโน้มลดลงบ้างเมื่อมีระดับการศึกษาสูงขึ้น ชาวต่างชาติที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา และแรงงานในภาคอุตสาหกรรม มีความชุกของโรคพยาธิต่ำกว่าอาชีพอื่น ชาวต่างชาติที่เคยขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติ มีความชุกของโรคพยาธิต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ เคยขึ้นทะเบียน พยาธิที่ตรวจพบมากที่สุด คือ พยาธิแส้ม้า (18.0% ของกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ) รองลงไปได้แก่ พยาธิไส้เดือน (8.8%) และพยาธิปากขอ (4.0%) เมื่อวิเคราะห์ด้วย multiple logistic regression พบว่า โอกาสการเป็นโรคพยาธิจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่ออายุสูงขึ้น เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม และเคยขึ้นทะเบียนแรงงานต่างชาติ ผลการศึกษานี้ช่วยบ่งชี้ถึงประโยชน์ของมาตรการการให้กินยาถ่ายพยาธิที่ ออกฤทธิ์กว้าง สำหรับชาวต่างชาติทุกรายที่ขึ้นทะเบียนแรงงาน ซึ่งควรขยายให้ครอบคลุมถึงกลุ่มที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานด้วย เพื่อลดการแพร่โรคให้กับชาวไทยในพื้นที่
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.