โรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึม ตอนที่ ๒ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคโบทูลิซัมและจุลชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ทองเจริญ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภร ฟุ้งลัดดา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคอาหารเป็นพิษ, จุลชีววิทยา, ความรู้ทั่วไป

บทคัดย่อ

                                โรคโบทูลิซัม เป็นโรคอัมพาตรุนแรงที่มีสาเหตุจากสารชีวพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โรคนี้มีประวัติการอุบัติมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ศาสตราจารย์จุลชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยเก็นท์ ชื่อ เอมิล ปีแอร์ มารี ฟาน เออร์เม็งเก็ม พบเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคในภายหลัง

                                Clostridium botulinum เป็นแบคทีเรียทรงแท่ง ขนาดโต ติดสีแกรมบวก สร้างสปอร์ เจริญได้ดีในภาวะไร้ออกซิเจน มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม สปอร์จะทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีออกซิเจนได้ ทนความร้อนมากสปอร์จะทนความแห้งได้นานถึง ๓๐ ปี ในอุณหภูมิ ๑๐๕ºซ สามารถทนได้นานถึง ๓-๔ ชั่วโมง แต่ถูกทำลายได้ในเวลา ๑๕ นาที ที่ ๑๒๑ºซ ภายใต้ความดันไอน้ำ

                                สารชีวพิษ เป็นสารที่ไม่มีสี ไร้กลิ่น ไร้รส มีพิษร้ายแรงที่สุด จำแนกตามสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคเป็น ๗ ชนิด คือ A - G ชนิด A พิษสูงที่สุด ขนาดก่อพิษเท่ากับ ๐.๐๐๑ ไมโครกรัมต่อ ๑ กิโลกรัม สารชีวพิษนี้ ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ๘๕ºซ ใน ๑ นาที หรือ ๘๐ºซ นาน ๕ นาที การปรุงอาหารให้สุกโดยต้มให้เดือด ก่อนบริโภค จึงเป็นวิธีที่จะทำลายความเป็นพิษ

                                การจำแนกประเภทของโรคโบทูลิซัม แบ่งได้ตามวิธีที่เกิดโรค เช่น โบทูลิซัมจากการบริโภคอาหารที่มีสารชีวพิษปนเปื้อน โบทูลิซัมในทารก โบทูลิซัมจากการก่อการร้ายทางชีวภาพ สารชีวพิษที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ปริมาณน้อย ๆ ใช้ในการรักษาโรคได้ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อให้คลายอาการเกร็งตัว เช่น อาการคอบิด คอเกร็ง ตาเหล่ ตาเข และลบรอยตีนกาบนใบหน้า นอกจากนั้นยังมีความพยายามนำไปใช้เพื่อการก่อการร้าย การรักษากระทำได้โดยใช้แอนติทอกซินในระยะเริ่มแรก และการบริบาลที่ถูกต้อง

                                การชันสูตร จะต้องพยายามเก็บสิ่งส่งตรวจให้ได้มากที่สุด เพื่อทั้งการชันสูตรโรค และการสอบสวน ทางระบาดวิทยา ตัวอย่างตรวจได้แก่ เลือด/ซีรั่ม อุจจาระ สารน้ำสวนล้างกระเพาะอาหาร เนื้อเยื่อจากบาดแผล ตัวอย่างอวัยวะต่าง ๆ ที่ได้จากการตรวจศพ เศษอาหาร ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ได้กล่าวถึงวิธีการ ตรวจไว้ด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้