ผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ณีรนุช วงค์เจริญ โรงพยาบาลปง จังหวัดพะเยา
  • ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบความมั่นคงและความปลอดภัยชายฝั่งเศรษฐกิจอ่าวไทยและอันดามัน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, กระดูกต้นขาหัก, การดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ ดูแลผู้ป่ วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่ วย กระดูกต้นขาหักบริเวณ neck of femur, intertrochanteric และ sub-trochanteric ที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่อง ที่บ้าน ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 จำนวน 14 และ 19 คน ตามลำดับ เครื่องมือวิจัยเป็นเวชระเบียนผู้ป่ วย บันทึกการเยี่ยมบ้านและแบบประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วย พัฒนารูปแบบการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ นำ วงจร PAOR 4 ขั้นตอน มาใช้เป็นวงล้อในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่ วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา และ pair sample t-test ผลการศึกษา พบว่า ผลการดูแลผู้ป่ วยเมื่อเปรียบเทียบระยะก่อนพัฒนา (ปี 2559) และหลังพัฒนา (ปี 2560 และ 2561) มีอัตราการเกิดแผลกดทับลดลง เท่ากับร้อยละ 66.67, 28.57 และ 11.11 ตามลำดับ การปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.58, 80.25 และ 92.59 อัตราการเสียชีวิตในปี แรกลดลง เท่ากับร้อยละ 33.33, 7.14 และ 0.00 ตามลำดับ และคะแนนการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยขณะดึงถ่วงน้ำหนัก ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การดูแลผู้ป่ วย ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้ป่ วยได้รับการติดตามดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่ วยและผู้ดูแลมีความรู้ มี ทักษะมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รวมถึง มีการส่งเสริมให้ดูแลผู้ป่ วยร่วมกัน ทำให้การดูแลผู้ป่ วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้านมี คุณภาพดียิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้