ทำอะไร อย่างไร ในการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่ ๕๘

ผู้แต่ง

  • วลัยพร พัชรนฤมล

คำสำคัญ:

การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก, องค์การอนามัยโลก

บทคัดย่อ

                                องค์การอนามัยโลกจัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกขึ้นทุกปี ๆ ละ ๑ ครั้ง ผลลัพธ์ของการประชุมคือการจัดทำข้อตกลงด้านสุขภาพอย่างเป็นทางการ การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกประจำ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นการประชุมครั้งที่ ๕๘ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการ จัดทำข้อตกลงได้สำเร็จและประกาศอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น ๓๔ ฉบับ

                                เนื้อหาของข้อตกลง แบ่งได้เป็นสองส่วนหลัก ส่วนที่หนึ่ง บทนำ ซึ่งกล่าวถึงเหตุผล ที่มา และความสำคัญของหัวข้อนั้น ๆ และส่วนที่สอง เนื้อหาเพื่อการปฏิบัติสำหรับประเทศสมาชิก และผู้อำนวยการทั่วไป ขององค์การอนามัยโลก

                                กระบวนการพิจารณาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงนั้นอยู่ภายใต้ธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก โดยต้องเป็นการตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ของประเทศสมาชิกจำนวน ๑๙๒ ประเทศ ความยากง่าย รวมทั้งระยะเวลาในการจัดทำข้อตกลงแต่ละฉบับไม่เหมือนกัน ขึ้นกับความคิดเห็นของประเทศสมาชิกต่อข้อตกลงฉบับนั้น กระบวนการจัดทำข้อตกลงมีตั้งแต่การแก้ไขอย่างง่าย รวดเร็ว ไปจนกระทั่งการขอแก้ไขด้วยคณะทำงานและใช้เวลานาน

                                การทำงานของทีมนักวิชาการไทยที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสองประการ ประการที่หนึ่ง การมุ่งมั่นสร้างผลงานให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีวิชาการระดับสากล และประการที่สอง การพัฒนา ศักยภาพนักวิชาการไทย ซึ่งทีมงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองข้อในระดับหนึ่ง การทำงานต้องเริ่ม ตั้งแต่การจัดทีม การเตรียมความพร้อมของทีมในด้านวิชาการ การปฏิบัติงานจริงที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้งงานด้านวิชาการและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทั้งต่อทีมงานด้วยกันเองและต่อผู้ร่วมประชุมจากประเทศต่าง ๆ การปฏิบัติงานของประเทศในแต่ละภูมิภาคมีข้อแตกต่างกัน เช่น การเสนอข้อคิดเห็นและการสนับสนุนกัน และกันของประเทศในกลุ่มแอฟริกัน ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ สุดท้ายการสรุปรายงานต่อผู้บริหาร

                                ทีมงานนักวิชาการที่ปฏิบัติงานในการประชุมครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์การร่วม ประชุมนานาชาติและการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกมาก่อน อีกส่วนเป็นนักวิชาการใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์จากนักวิชาการเดิมสู่นักวิชาการใหม่ คำถามที่ท้าทายคือ จะมีการพัฒนา ด้านการบริหารจัดการและด้านวิชาการต่อไปอย่างไร ความต่อเนื่องและความยั่งยืนของงานควรเป็นอย่าง ควรมีการสร้างเครือข่ายให้มีนักวิชาการของหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือไม่ อย่างไร ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข หรือนักวิชาการกลุ่มนี้ หรือใครควรเป็นผู้ตอบคำถามเหล่านี้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้