ตัวอย่างการใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในโรงพยาบาล: ตอน 1 การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การอักเสบภายในตา, การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

                   การจัดการความรู้ที่ดีสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ช่วยแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และพัฒนาคุณภาพของสถานบริการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว บทความนี้ได้นำเสนอตัวอย่างการใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของการอักเสบภายในตา (endophthalmitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย การกำหนดความรู้ที่ต้องการใช้ในการแก้ไขปัญหาการระบาดนี้ การประมวลหรือกลั่นกรองความรู้ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ และจากตำราหรือเอกสารวิชาการ การแลก เปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกทีมงานที่ร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตามรอยว่าในขั้นตอนทั้งหมดของการดูแลรักษาผู้ป่วย มีขั้นตอนไหนที่ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ซึ่งจากการดำเนินงานสามารถค้นหาสาเหตุและ/หรือปัจจัยเสี่ยงของการระบาดได้ และเมื่อผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้มีการทบทวนและแก้ไขแล้ว จากการติดตามและเฝ้าระวังในเวลาต่อมาก็ไม่พบปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีก กระบวนการจัดการความรู้ต่อมาเป็นการประมวลความรู้ที่ได้จากทีมงาน เป็นความรู้ที่เป็นเอกสารวิชาการลงเก็บในคลังความรู้โดยการเขียนรายงานในวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขนานาชาติ เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขทั่วโลกเมื่อประสบปัญหาแบบเดียวกันและต้องการใช้ความรู้ สามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว โดยผ่านเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ

                  การส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับรู้จักนำกระบวนการและเทคนิคของการจัดการความรู้ ไปใช้เป็น เครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนและงาน ช่วยแก้ไขปัญหา/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและ พัฒนาคุณภาพที่ดีและรวดเร็ว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้