การวิเคราะห์เชิงพรรณนาสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานบันเทิงของไทย

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย ศรีสง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนวดี จันทร์เทียน กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐปราง นิตยสุทธิ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, เชื้อ SARS-CoV-2, COVID-19, สถานบันเทิง

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ว่าพบกลุ่มผู้ป่ วยมีอาการปอดบวม โดยไม่ทราบสาเหตุในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมามีรายงานว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ ใหม่ หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) เป็นสาเหตุของโรคและได้แพร่ ระบาดไปยังประเทศอื่นๆ ประเทศไทยพบผู้ป่ วยยืนยันรายแรกซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีน เมื่อวันที 8 มกราคม ่ 2563 จนกระทั่งช่วงต้นเดือนมีนาคม 2563 พบผู้ป่ วยเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งคาดว่าเกิดการแพร่กระจายเชื้อในสนามมวย และสถานบันเทิง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพิ่มวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในสถานบันเทิงของ ประเทศไทย และคาดการณ์สถานการณ์ทีอาจนำไปสู่การระบาด ผู้วิจัยใช้การทบทวน เอกสาร รายงานการสอบสวน และบทสรุปผู้บริหาร (executive summary) ของข้อมูลการสอบสวนโรคที่ส่งเข้ามาที่กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และใช้การสำรวจสิ่งแวดล้อม โดยการสังเกตในสถานบันเทิงแห่งหนึ่งทีเคยมีการแพร่ระบาด ่ COVID-19 ผลการศึกษาพบว่า เหตุการณ์การระบาด COVID-19 ในสถานบันเทิงของไทย เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ สามของเดือนมีนาคม 2563 จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง 463 ราย จากผู้ติดเชื้อทั้ง ประเทศ 3,090 ราย (มกราคม - พฤษภาคม 2563) เท่ากับร้อยละ 15.4 ในกลุ่มผู้ติดเชื้อรุ่นแรก (ผู้ป่ วยที่มีประวัติ ไปสถานบันเทิงโดยตรง) ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เป็นเพศหญิง 230 ราย (ร้อยละ 57.9) และเป็น พนักงานที่สัมผัสกับแขกโดยตรง 205 ราย (ร้อยละ 51.64) ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2563 การสำรวจสิ่งแวดล้อม พบว่าสถานบันเทิงดังกล่าวมีการจัดโต๊ะสำหรับแขกค่อนข้างใกล้ชิดกันและมีการถ่ายเทอากาศไม่สะดวก รวมถึง ผู้ใช้บริการส่วนหนึ่งก็มีประวัติในการใช้ของใช้ร่วมกัน ดังนั้นหากมีการอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิงได้อีกครั้ง ต้องมี ความเข้มงวดในการรักษาระยะห่างทางกายภาพ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ รวมถึงเข้มงวดในพฤติกรรมเสี่ยงของแขกและพนักงาน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

1 2 > >>