การลดความแออัด ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การลดความแออัด, ระยะเวลารอคอย, แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการลดความแออัด ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลชุมชน โดยพัฒนาจากการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์และงานวิจัยทีเกี ่ ่ยวข้องจำนวน 10 เรื่อง ประเมินผลด้านคุณค่าและความเป็นไปได้ของแนวทางโดยใช้เครื่องมือ AGREE II และตรวจสอบความถูกต้องของภาษา การสื่อความหมายและความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.86 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 25 คน และผู้ใช้ บริการจำนวน 5,909 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้แนวทางการดูแลแบบปกติ จำนวน 3,111 คน และกลุ่มที่ใช้แนวทางที่ พัฒนาขึ้น จำนวน 2,798 คน ดำเนินการวิจัยในระยะทดลอง ระหว่างเดือน เมษายน - กันยายน 2561 ช่วงเวลา 16.00-24.00 น. ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ผลการวิจัยได้แนวทางการลดความแออัด ณ แผนกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน ประกอบด้วย (1) การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินคุณภาพ (2) การคัดกรอง ผู้ป่ วย (3) มีมาตรการกำหนดระยะเวลาผู้เจ็บป่ วยวิกฤตฉุกเฉินในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่เกิน 4 ชั่วโมง (4) มี ระบบการเงินและการชำระค่าใช้จ่ายในการรักษา (5) การให้ข้อมูลความรู้ในการดูแลตนเองหลังการจำหน่าย (6) มี การส่งต่อด้วยระบบ Fast track (7) ใช้ระบบการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่ วย (8) มีการ ประยุกต์ใช้รูปแบบ patient journey model ระยะเวลาการรอคอยหลังใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้นตลอดกระบวนการดูแล ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน พบว่า มีระยะเวลาเฉลี่ย 46.70 นาที (SD = 31.95 นาที Min = 15 นาที Max = 180 นาที 95%CI=65.01-66.74 ) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าคะแนน NEDOCS Score ลดลงเท่ากับ 101-140 คะแนน การปฏิเสธการรักษาโดยไม่รอตรวจ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากร้อยละ 3.05 เหลือร้อยละ 0.89 จากการวิจัยพบว่าแนวทางการลดความแออัด ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชน สามารถจัดการลดความแออัดได้ โดยลดระยะเวลารอคอยน้อยกว่า 4 ชั่วโมง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.