คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์เครื่อง สำอางผสมสมุนไพร ระหว่างปี 2545 - 2548

ผู้แต่ง

  • สิรินันท์ ไทยตระกูลพาณิช กองเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สิริมา สายรวมญาติ กองเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สุวรรณา เธียรอังกูร กองเครื่องสําอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เครื่องสำอาง, เครื่องสำอางผสมสมุนไพร, จุลินทรีย์ปนเปื้อน

บทคัดย่อ

            ระหว่าง พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2548 กองเครื่องสําอางและวัตถุอันตรายได้สำรวจคุณภาพด้านจุลชีววิทยา ของผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางผสมสมุนไพรชนิดต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 152-2539 รวมจำนวน 881 ตัวอย่าง จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายบริเวณช่องปาก ใบหน้าและลำตัวจำนวน 116, 340, และ 425 ตัวอย่าง ตามลำดับ พบไม่เข้ามาตรฐาน 236 ตัวอย่าง (ร้อยละ 26.8 ของตัวอย่างทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อนเกินมาตรฐาน (1,000 โคโลนีต่อกรัม) ถึง 229 ตัวอย่าง และพบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคทุกชนิดที่มาตรฐานกำหนดห้ามตรวจพบ ยกเว้น Staphylococcus aureus เป็นที่น่าสังเกตว่าตรวจพบ Clostridium spp. ปนเปื้อนถึง 95 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่พบไม่เข้ามาตรฐานมากที่สุด ได้แก่ เครื่องสําอางผสมสมุนไพรประเภทผง ครีม โคลน พอก/ขัดบริเวณใบหน้า 121 ตัวอย่างจาก 201 ตัวอย่าง (ร้อยละ 60.2) และบริเวณลำตัว 54 ตัวอย่างจาก 111 ตัวอย่าง (ร้อยละ 48.6) เมื่อจำแนกตามแหล่งผลิต พบว่าเครื่องสำอางที่ผลิตจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่เข้ามาตรฐานมากที่สุด คือ 150 ตัวอย่างจาก 575 ตัวอย่าง (ร้อยละ 63.6) นอกจากนี้พบผลิตภัณฑ์สำอางผสมสมุนไพรที่ไม่ทราบแหล่งผลิตไม่เข้ามาตรฐานถึง 55 ตัวอย่างจาก 192 ตัวอย่าง (ร้อยละ 28.6) แสดงให้เห็นปัญหาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสมุนไพรที่ผลิตภายในประเทศยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคจึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีรายละเอียดฉลากสินค้าครบถ้วน จากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง