การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัดในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย ปี 2561-2562

ผู้แต่ง

  • สุวิช ธรรมปาโล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ชูพงศ์ แสงสว่าง ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FETC) กลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • สวรรยา จันทูตานนท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, การเสียชีวิตของผู้ป่วยหัด, ภาคใต้ตอนล่าง

บทคัดย่อ

ปี พ.ศ. 2561-2562 พบการระบาดและเสียชีวิตของผู้ป่ วยโรคหัดในพื้นทีจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ่ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อค้นหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตและให้ข้อเสนอแนะมาตรการป้ องกันใน อนาคต ดำเนินการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มควบคุม (unmatched case-control study) ใน 4 จังหวัดที่พบ ผู้เสียชีวิต ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ประชากรศึกษา 261 ราย เป็นผู้ป่ วยในที่ได้รับวินิจฉัยโรคหัด และถูกรายงานเข้าโปรแกรมกำจัดโรคหัดวันที่ 1 สิงหาคม 2561- 28 กุมภาพันธ์ 2562 กลุ่มศึกษาเป็นผู้เสียชีวิต ทั้งหมดในพื้นที่จำนวน 30 ราย และกลุ่มควบคุมเป็นผู้รอดชีวิต 231 ราย คัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายจากผู้ป่ วยที่ อาศัยอยู่ตำบลเดียวกับผู้เสียชีวิต เก็บข้อมูลด้วยวิธีทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ปกครอง ตรวจหลักฐานการรับ วัคซีนหัด และสำรวจสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 93.33 มีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 46.43 ไม่ได้รับวัคซีนหัด ร้อยละ 96.15 ภาวะแทรกซ้อนสาเหตุของการเสีย ชีวิต ได้แก่ ปอดอักเสบและระบบหายใจล้มเหลวร้อยละ 100.00 จำนวนวันตั้งแต่เริ่มป่ วยถึงได้รับวินิจฉัยโรคหัด เฉลี่ยเท่ากับ 6.22 วัน จำนวนวันตั้งแต่เริ่มป่ วยถึงได้รับวิตามินเอเฉลี่ยเท่ากับ 8.03 วัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ได้แก่ มีภาวะปอดอักเสบตั้งแต่ก่อนรับไว้ในโรงพยาบาล (Adj OR=8.08, 95%CI=1.66-39.35) มีประวัติ นอนโรงพยาบาลด้วยโรคติดเชื้ออื่นก่อนป่ วยโรคหัดในระยะ 14 วัน (Adj OR=3.24, 95%CI=1.04-10.10) และ พบว่าการได้รับวิตามินเอก่อนการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวเป็นปัจจัยป้ องกันการเสียชีวิต (Adj OR= 0.27, 95%CI= 0.09-0.81) การป้ องกันการเสียชีวิตจากโรคหัดต้องมีระบบการวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วโดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา ร่วมกับข้อมูลทางคลินิกและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้ป่ วยได้รับวิตามินเอได้ทันท่วงที และได้รับการ ดูแลรักษาที่เหมาะสมก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ควรมีการสำรวจ ความชุกของภาวะขาดวิตามินเอในพื้นที่ เพื่อวางแผนการให้วิตามินเอป้ องกันก่อนเกิดโรค

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้