ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งกับสถานะทางสุขภาพในผู้สูงอายุไทย
คำสำคัญ:
ความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพ, ความมั่งคั่ง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของความมั่งคั่งและความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งกับ ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพแบบสัมพัทธ์ โดยพิจารณาตัวแปรบ่งชี้ตำแหน่งทางเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนของ คนไทยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557 ทำการ วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบไบนารี ซึ่งตัวแปรตามคือผลการประเมินสุขภาพด้วยตัวเองและการไม่สามารถ ทำกิจวัตรประจำวันอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ตัวแปรต้นประกอบด้วย ดัชนีความมั่งคั่ง ระดับการศึกษาสูงสุด ถิ่นที่อยู่ รวมทั้งตัวแปรทางประชากร สำหรับการวิเคราะห์ความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพใช้วิธีการวัดดัชนีความไม่เป็นธรรม แบบสัมพัทธ์ (Relative Index of Inequality - RII) ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีความมั่งคั่งซึ่งคำนวนจากข้อมูลการ สำรวจประชากรผู้สูงอายุสามารถใช้วัดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุไทย และใช้ในการ กำกับติดตามนโยบายผู้สูงอายุในกรณีที่ไม่มีหรือไม่สามารถวิเคราะห์จากข้อมูลรายได้หรือข้อมูลรายจ่าย ความไม่ เป็นธรรมทางสุขภาพสามารถเห็นได้จากครัวเรือนที่มีระดับความมั่งคั่งต่างกัน กลุ่มครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งระดับ “รวย” นั้นมีสุขภาพดีกว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งระดับ “จน” และเพิ่มขึ้นตามอายุ ระดับการศึกษาเป็นปัจจัย ที่ทำให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้น แต่การอยู่อาศัยในเขตชนบทหรือเขตเมืองไม่มีผลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.