การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การส่งเสริมป้องกัน, การสูบบุหรี่, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พัฒนารูปแบบการส่ง-
เสริมป้ องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมป้ องกันการสูบบุหรี่ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 117 คน (2) คณาจารย์ จำนวน 9 คน (3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน (4) เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข จำนวน 9 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และ
การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1)
ทั้ง 3 โรงเรียนได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมในโครงการแตกต่างกันออกไปตาม
บริบทของแต่ละโรงเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับพิษของบุหรี่ ระดับมาก (Mean=4.17;
SD=0.75) ส่วนด้านทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาทีมีต่อการสูบบุหรี่ ่ โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (Mean=4.15;
SD=0.67) (2) การส่งเสริมป้ องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ควรมีการจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม เช่น
การจับคู่บัดดี้ การสร้างแรงจูงใจในการลด ละ เลิกบุหรี่ เป็นต้น ส่วนรูปแบบการส่งเสริมป้ องกันการสูบบุหรี่ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา คือ การพัฒนาศักยภาพตนเอง ประกอบด้วย (2.1) การสร้างเสริมความรู้ที่เกี่ยวข้อง (2.2)
การฝึกทักษะการทำงานตามบทบาท (3) การประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานภายใต้ SKIN model สามารถใช้งานได้
จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงจังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ การจัดกิจกรรม
ป้องกันการสูบบุหรี่ควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.