การศึกษาความเป็นไปได้ของการบังคับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องมือแพทย์ กรณีศึกษา ถุงมือสำหรับการศัลยกรรม

ผู้แต่ง

  • กิตติมา ลากุล หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ระพีพรรณ ฉลองสุข ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความเป็นไปได้, เครื่องมือแพทย์, ถุงมือสำหรับการศัลยกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการบังคับใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตเครื่อง มือแพทย์ (GMP) ฉบับปรับปรุง กรณีศึกษา ถุงมือสำหรับการศัลยกรรม โดยศึกษาความสามารถในการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่ และผู้ผลิตถุงมือสำหรับการศัลยกรรม ตามข้อกำหนดของ GMP ฉบับปรับปรุง และศึกษาความพร้อมของ เจ้าหน้าที่ ผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงมือสำหรับการศัลยกรรม จากการบังคับใช้ GMP ฉบับปรับปรุง เป็นกฎหมาย รวมทั้ง ศึกษาผลกระทบของผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงมือสำหรับการศัลยกรรมที่อาจเกิดขึ้นจากการประกาศบังคับใช้ GMP ฉบับ ปรับปรุงเป็นกฎหมาย ซึ่งได้วิเคราะห์ความพร้อม 4 ด้าน (4M) และวิเคราะห์ผลกระทบ 4 ด้าน (4P) เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน ผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงมือสำหรับการศัลยกรรม จำนวน 7 คน และ 3 คน ตามลำดับ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจัดกลุ่มข้อมูล และสถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าทีและผู้ผลิตถุงมือสำหรับการศัลยกรรมในประเทศไทย สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของ GMP ฉบับปรับปรุง ได้ แต่ยังไม่พร้อมทีจะปฏิบัติตามกฎหมายหากมีการบังคับใช้ GMP ฉบับปรับปรุง เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจ ่ ขาดบุคลากร และต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างอาคาร รวมถึงการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะผู้นำเข้าถุงมือสำหรับ การศัลยกรรม ที่จะต้องประสานกับทางผู้ผลิตต่างประเทศ ในการผลักดันให้เข้าระบบคุณภาพมาตรฐาน และการ บังคับใช้ GMP ส่งผลกระทบในด้านลบต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าตรวจประเมิน ค่าจ้างบุคลากร ค่าอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้าง และค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หากมีการยอมรับมาตรฐานสากล (ISO 13485) โดยหากผู้ผลิตได้รับมาตรฐาน ISO 13485 แล้ว ให้ถือว่าได้รับมาตรฐาน GMP นี้ หรือ ให้มีการตรวจประเมินเฉพาะ ในหัวข้อที่แตกต่างกัน ก็จะเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายให้กับทางเจ้าหน้าที่ ผู้ผลิต และผู้นำเข้าได้บ้างตามสมควร

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

ระพีพรรณ ฉลองสุข, ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University

เอกสารอ้างอิง

กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551. พิมพ์ ครั้งที่ 3. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนพิเศษ 43 ก (ลงวันที่ 5 มีนาคม 2551).

กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอน 56 ก. (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562).

ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ. โอกาสของถุงมือยางไทยในตลาด โลก สิงหาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นค้นเมื่อ 23 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.dtn.go.th/th/file/get/ file/1.20220412d41d8cd98f00b204e9800998 ecf8427e095432.pdf.

สถาบันพลาสติก. ผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง โครงการพัฒนาศูนย์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ ทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 14 ก.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/Nlyqx

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ถุงมือสำหรับการศัลยกรรม. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121, ตอนพิเศษ 58 ง (ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2547).

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิสถาบันพลาสติก, สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม ยางไทย. รายงานการศึกษาเชิงลึก Rubber Intelligence Unit อนาคตถุงมือยางไทยในตลาดโลก [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 14 ก.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/ yzL3V

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ห้ามผลิต นำเข้า หรือขายถุงมือสำหรับการศัลยกรรมชนิด มีแป้ง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 260 ง (ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563).

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กลุ่มเครื่องมือแพทย์หรือเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือ ผู้นำเข้าต้องแจ้งรายการละเอียด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138, ตอนพิเศษ 35 ง (ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564).

กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพประจำปี งบประมาณ 2555. นนทบุรี: สำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา; 2556.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี ในการผลิตเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2548 (ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2548) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 29 มี.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://medical.fda.moph.go.th/ media.php?id=524837872545701888 &name=MDLAW0464.pdf

พรทิพย์ เชื้อมโนชาญ, สิริพร บูรพาเดชะ, อรวรรณ ทิตย์ วรรณ, วีรศักดิ์ เชื้อมโนชาญ, วชัญญา บุศยวงษ์. การศึกษา ปัจจัยสำคัญที่มีต่อความพร้อม อุปสรรค และมาตรการใน การส่งเสริมพัฒนาโรงงานให้สามารถผลิตยาตามหลักเกณฑ์ GMP [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 23 พ.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/ 1304?locale-attribute=th

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจประเมินสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามกฎหมายว่าด้วย ยา พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/qDlYA

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการได้มาซึ่งองค์กร ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสถานประกอบ การผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135, ตอนพิเศษ 291 (ลงวันที 19 พฤศจิกายน 2561).

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)