ยุทธศาสตร์ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573: ปัจจัยท้าทายและข้อเสนอสู่การปฏิบัติ
คำสำคัญ:
กิจกรรมทางกาย, ยุทธศาสตร์, การนำไปสู่การปฏิบัติ, ความท้าทาย, ประเทศไทยบทคัดย่อ
แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561-2573 (แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ) ได้รับการ อนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2561 มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอใน ประชาชนไทย ด้วยสามยุทธศาสตร์คือ ประชาชนกระฉับกระเฉง สภาพแวดล้อมเหมาะสม และระบบสนับสนุน ครอบคลุม การศึกษานี้ประเมินความท้าทายในการนำ แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ ไปปฏิบัติขององค์กร หลัก พร้อมเสนอข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล ด้วยวิธีการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและการ อภิปรายกลุ่ม ผลการศึกษาพบสี่ความท้าทาย ได้แก่ หนึ่ง การขาดความตระหนักและความมุ่งมั่นในหลักการ การมีกิจกรรมทางกายตามคำ นิยามที่ครอบคลุม ซึ่งส่งผลให้การออกแบบโครงการส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นเฉพาะ การส่งเสริมการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ สอง มาตรการการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ออกแบบจำ เพาะเจาะจง กับแต่ละกลุ่มประชากรในสถานที่ต่างๆ ยังดำ เนินการไม่เต็มที่ สาม หน่วยงานหลักในการส่งเสริมกิจกรรมทาง กายมีศักยภาพด้านวิชาการและการดำ เนินนโยบายที่จำ กัด และสี่ กิจกรรมทางกายของประชาชนได้รับผลกระ ทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการของรัฐบาล เพื่อให้แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ ก้าว ข้ามสี่ความท้าทาย ผู้วิจัยเสนอแนะให้คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และคณะกรรมการบริหารการ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายใช้ประโยชน์จากแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ ในการขับเคลื่อนวาระกิจกรรมทางกาย ให้ยังคงเป็นวาระระดับชาติ รวบรวมและระบุการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ประสบความสำ เร็จในบริบทต่างๆ พร้อมขยายผลการดำ เนินการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พัฒนาระบบติดตามและประเมินความก้าวหน้าของการดำ เนิน การ พัฒนาศักยภาพในดำ เนินนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมทางกายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และปรับโครงการ และกระบวนการทำ งานตามแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯให้ยืดหยุ่นพร้อมรับความท้าทายในช่วงการ ระบาดของโรคโควิด-19 และในอนาคต.
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.