การตรวจการติดเชื้อวัณโรคด้วยวิธี Interferon Gamma Release Assay (IGRA) ในบุคลากรทางการแพทย์ของเขตสุขภาพที่ 10 ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย คำแสน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

วัณโรค, วัณโรคระยะแฝง, บุคลากรทางการแพทย์, สารอินเตอร์เฟอรอนแกมมา

บทคัดย่อ

การศึกษาการตรวจการติดเชื้อวัณโรคด้วยการตรวจสารอินเตอเฟอรอลแกมมา (IGRA) ในบุคลากรทางการแพทย์ของเขตสุขภาพที่ 10 มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรค สนับสนุนมาตรการป้ องกันควบคุมวัณโรค ผลการศึกษาครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาล 20 แห่ง ในเขตสุขภาพที่ 10 ระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2563 จำนวน 439 ราย เพศชาย 100 ราย เพศหญิง 339 ราย อายุระหว่าง 23-61 ปี พบว่าให้ผลบวก จำนวน 62 ราย ร้อยละ 14.12 จากโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 17 แห่งของจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และมุกดาหารจำนวน 10, 7, 2 และ 1 แห่ง ตามลำดับ โดย บุคลากรแต่ละจังหวัดมีจำนวน 353, 43, 37 และ 6 ราย ตามลำดับ ให้ผลบวก 46 ราย ร้อยละ 13.03, 6 ราย ร้อย ละ 13.95, 9 ราย ร้อยละ 24.32 และ 1 ราย ร้อยละ 16.67 โดยแยกเป็นกลุ่มองค์กรแพทย์ 20 ราย ให้ผลบวก 3 ราย ร้อยละ 15.00 กลุ่มทันตกรรม 10 ราย ให้ผลบวก 2 ราย ร้อยละ 20.00 กลุ่มเภสัชกรรม 11 ราย ให้ผลบวก 2 ราย ร้อยละ 18.18 กลุ่มเทคนิคการแพทย์ 111 ราย ให้ผลบวก 10 ราย ร้อยละ 9.01 กลุ่มการพยาบาลและผู้ช่วย เหลือคนไข้ 229 ราย ให้ผลบวก 33 ราย ร้อยละ 14.41 กลุ่มเอ็กซเรย์ 12 ราย ให้ผลบวก 3 ราย ร้อยละ 25.00 กลุ่มคลินิกวัณโรคและควบคุมโรค 24 ราย ให้ผลบวก 8 ราย ร้อยละ 33.33 กลุ่มนักวิชาการ 5 ราย ไม่มีผลบวก และ กลุ่มงานธุรการและอื่นๆ 17 ราย ให้ผลบวก 1 ราย ร้อยละ 5.88 สรุปผลจากการศึกษาพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อวัณโรคและเป็นวัณโรคระยะแฝง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่ วยโดยตรง ดังนั้น สถานพยาบาลต่างๆ ควรมีมาตรการส่งเสริม ป้ องกัน และให้การดูแลบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีสุขภาพที่ดีในการ เป็นกำลังสำคัญกับระบบการสาธารณสุขของประเทศต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้