การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุขในการพัฒนาองค์กร ตามแนวคิดรัฐบาลดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • มัธยัสถ์ เหล่าสุรสุนทร กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐธยาน์กร เดชา กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • น้ำทิพย์ มีสัจจี กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • นิติมา แสงแก้ว กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข, รัฐบาลดิจิทัล, กำลังคนด้านสุขภาพ, บุคลากรด้านสาธารณสุข, ข้อมูลข่าวสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากร สาธารณสุข และศึกษาความพึงพอใจการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข โดยเป็นการ วิจัยเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูล ทั้งแบบปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากร/ เจ้าหน้าที่ที่ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 355 คน ซึ่งคำนวณตามสูตร ของ Yamane T และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และผู้อำนวยการกอง (ส่วนกลาง) จำนวน 10 คน โดยมีเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อถือแล้ว ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลด้านผลการผลิตมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 56.9 ความพึงพอใจการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมของการ ใช้ระบบอยู่ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.2 และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจทั้ง 3 ด้าน พบว่า ด้านความปลอดภัย มีความพึงพอใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.8 และข้อเสนอเชิงนโยบาย จากการสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้บริหาร และข้อ เสนอแนะของผู้ใช้บริการ สามารถสรุปปัญหาอุปสรรค และความคิดเห็น ได้จำนวน 3 ข้อ ได้แก่ (1) ระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข มีส่วนช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลาของ ผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างมาก สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการ ทำงานและทางการบริหารได้เป็นอย่างดี (2) เสนอให้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข ให้มีความครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้งานในระดับพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น พัฒนาให้อยู่ในรูปแบบ Application ควรกำกับติดตาม การบันทึกข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆ ของบุคลากรให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ (3) ปัญหา อุปสรรคของระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุขมีความล่าช้าในบางเวลาโดยเฉพาะช่วงที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และความเป็น ปัจจุบันของข้อมูลแต่ละหน่วยงานมีความเป็นปัจจุบันไม่เท่ากัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ