ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • นิตยา กระจ่างแก้ว แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนนทบุรี
  • บุญทิพย์ สิริธรังศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
  • วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ความรู้, ความเครียด, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โปรแกรมการจัดการภาวะ ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ระดับความรู้ ระดับความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสาเหตุจากภาวะความดันโลหิตสูง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 14 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปความรู้ ความเครียด พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่ วย และโปรแกรมการจัดการภาวะ ความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยแนะนำผู้ป่ วยขณะอยู่ในโรงพยาบาล ติดตามและประเมิน ผลภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 4 สัปดาห์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา paired t-test, Shapiro-Wilk test และ Wilcoxon signed ranks test จากการศึกษาพบว่าระดับความรู้และระดับความเครียด ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมไม่แตกต่างกัน ส่วนพฤติกรรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงหลังเข้าโปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05 และความดันโลหิตหลังเข้าร่วมโปรแกรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองจึงมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทของผู้ป่ วย โดยมีครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผู้ป่ วย ให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนของบุคลากรทีมสุขภาพส่งผลให้ผู้ป่ วย มีสุขภาพที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ