การพัฒนาระบบสารสนเทศในระบบบริการตรวจสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตควบคุมมลพิษ ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา คงศักดิ์ตระกูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • กมลวรรณ สมณะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • สาวิตรี ภมร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • ยุทธนา กลิ่นจันทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในระบบบริการตรวจสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงใน เขตควบคุมมลพิษ โดยการพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลงานตรวจสุขภาพในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับจัดเก็บ ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในเขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ประมวลผลข้อมูลออกเป็นรายงาน นำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้ าระวังทางสุขภาพที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมกรณีฝุ่นขนาดเล็ก กลุ่มเป้ าหมายการศึกษา ได้แก่ บุคลากรทีปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพบุคลากร ่ ที่ปฏิบัติงานด้านบริการสุขภาพ และด้านวิชาการ รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรม web-based application และแบบสอบถาม กระบวนการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษา สถานการณ์และปัญหา (2) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ และ (3) ประเมินผล ทำการศึกษาตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ผลการศึกษาพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สามารถนำมาช่วยในการจัดการข้อมูล เพื่อวางแผน เฝ้ าระวัง ดูแล รักษา ส่งต่อ แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น นำองค์ความรู้ทางอาชีวเวชศาสตร์มาวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลสุขภาพกำหนดกลุ่มเสี่ยงเป็น 3 ระดับ คือ เสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสามารถติดตามและยืนยันกลุ่มเสี่ยงโดยเปิดดูจากเว็บ แอพพลิเคชั่น ผลการประเมินพบว่า ประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบ คิดเป็นร้อยละ 88.54 การออกแบบ คิดเป็น ร้อยละ 87.50 และความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุดเกี่ยวกับมีความเป็นปัจจุบันและทันสมัย และระดับมากเกี่ยวกับ ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ประโยชน์ครบถ้วนตามความต้องการ เข้าใจง่าย และข้อมูลถูกต้องน่าเชื่อถือได้

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2547) เรื่องกำหนดให้ท้องที่ เขตตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด สระบุรีเป็นเขตควบคุมมลพิษ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd.go.th/pczs/

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. กพร. ขับเคลื่อน การทำเหมืองแร่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างประโยชน์ให้ ชุมชนอย่างยั่งยืน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.dpim.go.th/purchase/article?- catid=237&articleid=8316

จังหวัดสระบุรี. แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษใน เขตควบคุมมลพิษตำบลหน้าพระลาน 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2560]. แหล่ง ข้อมูล: http://saraburi.mnre.go.th/th/news/detail/752.

กรุงเทพธุรกิจ. ตรวจพบปัญหาฝุ่นและละออง 2 อ. สูงเกิน พิกัด จ. สระบุรี [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.bangkokbiznews.com/social/631362

กรมอนามัย, กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้ าระวังพื้นที่ เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศกรณีฝุ่ นละอองขนาดเล็ก. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

สุดา พะเนียงทอง, สุรทิน มาลีหวล, ชาติวุฒิ จำจด. การ พัฒนาระบบเฝ้ าระวังสุขภาพจากปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขต ควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555;19(12):46-54.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรม ควบคุมโรค. แนวปฏิบัติการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม สำหรับบุคลากรสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th/ uploads/media/manual/2.07ร้อยละ2001ร้อยละ2058ร้ อยละ20VerIII.pdf

กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผน พัฒนาด้านการป้ องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพของ ประเทศระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph. go.th/uploads/publish/989620200310142003.pdf

พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที 26 ก (ลงวันที่ 2 มีนาคม 2560) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 ธ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www. dpim.go.th/pr/article?catid=42&articleid=7575

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd.go.th/publication/3649

นพมาศ หริมเทพาธิป. การเสื่อมสมรรถภาพปอดของ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีกิจกรรมการระเบิดและย่อยหิน กรณีศึกษา ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2541 [สืบค้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaithesis.org/detail. php?id=43357

วราภรณ์ สุภาอินทร์. ผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน จากการประกอบกิจการโรงโม่หินในตำบลแม่ลาน้อย อำเภอ แม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.10.11/ pmqa53/wp-content/uploads/km/dev.pdf.

กฤษิยากร เตชะปิ ยะพร. การวิจัยและพัฒนางานวิชาการ. เอกสารอบรมหลักสูตรการวิจัยและพัฒนางานวิชาการ (R&D): มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43357

สรรชัย ฉายโชติเจริญ. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตรวจ สุขภาพบุคลากรประจำปี กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.

กรรณิการ์ ปัดไธสง. ระบบตรวจสุขภาพนักเรียน. มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ธ.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.msit.mut.ac.th/thesis/ Thesis_2554/pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ