ปัจจัยทำนายพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ประทุม เมืองเป้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วุฒิชัย จริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, การบริโภคเกลือ, โซเดียม, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพยากรณ์ (predictive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือ และโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และปัจจัยทำนายพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่จริงในเขตอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 221 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสามารถในการทำนายปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยสถิติ stepwise multiple regression analysis ผลการศึกษา พบว่า คะแนนระดับการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.42) คะแนนระดับการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียม อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 61.54) คะแนนระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือ และโซเดียมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 61.09) คะแนนระดับการเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์สารทดแทนเกลือและ โซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.01) คะแนนระดับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมลดการบริโภค เกลือและโซเดียมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 63.35) คะแนนระดับพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ใน ระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.66) โดยปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียม (β = 0.348, p<0.001) แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียม (β = 0.322, p<0.001) อาชีพรับจ้าง (β =-0.183, p=0.002) การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียม (β = -0.174, p=0.010) และ อายุ (β =0.137, p=0.022) ซึ่งสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ 29.00

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. โรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ต.ค. 2563]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.thaihypertension.org/information. html

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. เอกสารหลัก ประกอบการพิจารณามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8พ.ศ. 2558: นโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อ ลดโรคไม่ติดต่อ (NCDs). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช); 2559.

กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียม ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 – 2568. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

สุประวีร์ ปภาดากุล. สรุปชุมชนลดเค็ม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่- ติดต่อในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์. เอกสารประกอบการ ประชุมสรุปชุมชนลดเค็ม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ; วันที่ 17 ก.ค. 2563; โรงพยาบาลหนองไผ่, จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: โรงพยาบาลหนองไผ่; 2563.

ดลรัตน์ รุจิวัฒนากร. การบริโภคโซเดียมของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556. 123 หน้า.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, ขนิษฐา ศรีสวัสดิ์ , ประภัสรา บุญทวี. การวิจัยทดลองการใช้ชุดมาตรการลดบริโภคเค็มในชุมชน ต้นแบบ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563; 16(3):39-48.

พชรวดี กาญจรัส. การบริโภคโซเดียมในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อ โรคความดันโลหิตสูง อำเภอโพธิ์ ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557. 121 หน้า.

พัชนี ถิระกุลพฤทธิ์ . ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค เกลือโซเดียมของครัวเรือน ในตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง [ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2559. 90 หน้า.

จริญญา คมเสียบ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม การรับ รู้สมรรถนะแห่งตนกับพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียม ของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556. 128 หน้า.

Green L, Kreuter M. Health promotion planning an educational and environment approach. 2nd ed. Toronto: Mayfield Publishing; 1991.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. ประชากร 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 7 th edition. New York: John Wiley & Sons; 1999.

สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. สรุปชุมชนลดเค็ม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ เขตสุขภาพที่ 2. พิษณุโลก. เพชรบูรณ์: โรงพยาบาลหนองไผ่; 2563.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินพฤติกรรม การบริโภคอาหารรสเค็มในชีวิตประจาวัน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 7 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://203. 157.186.111/hnc/docs/750/low%20salt%20 week%20form.pdf

ทองชนะ สุวันลาสี, กล้าเผชิญ โชคบำรุง. พฤติกรรมการ ควบคุมอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลมโหสด ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559;34(2):24-32.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย นเรศวร; 2563.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แนวคิด และการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

นุจรี อ่อนสีน้อย. ได้ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะก่อน เป็นโรคความดันโลหิตสูง [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559. 113 หน้า.

กาญจนา มณีทัพ, สมจิต แดนสีแก้ว. สถานการณ์การ บริโภคเกลือของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงตำบลทางขวางอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาล-และ การดูแลสุขภาพ 2560;35(4):140-9.

จริยา ทรัพย์เรือง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564;6(8): 386-99.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้