ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • จิรารัตน์ เอมแย้ม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วุฒิชัย จริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โปรแกรมทันตสุขศึกษา, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถ ของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้ องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 4-6 ตำบลมหาโพธิ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม 35 คน โดยวิธีคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการ จับฉลาก กลุ่มทดลองรับโปรแกรมทันตสุขศึกษา ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม การเลือกผลิตภัณฑ์ การดูแลสุขภาพช่องปาก ตรวจช่องปากด้วยตนเอง การฝึกแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน การตั้งเป้ าหมายเพื่อสุขภาพช่องปาก ที่ดี บันทึกกิจกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก และการสนับสนุนจากเพื่อนในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนกลุ่มควบคุมได้ รับทันตสุขศึกษาตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเด็ก นักเรียน ส่วนที่ 2 การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้ องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ส่วนที่ 3 ความ คาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวต่อการป้ องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ส่วนที่ 4 แรงสนับสนุนทางสังคม และส่วนที่ 5 พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test, Mann-Whitney test, Independent t-test, และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการป้ องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวใน การป้ องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Oral health; 2020 [internet]. [cited 2022 Apr 12]. Available from: http://www.who. int/news-room/fact-sheets/detail/oral-health

สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการ สำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์- ทหารผ่านศึก; 2561.

Riolina A, Hartini S, Suparyati S. Dental and oral health problems in elementary school children: A scoping review. Pediatric Dental Journal 2020;30(2):106-14.

ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์, ปิยะดา ประเสริฐสม, ดาวเรือง แก้วขันตี, วราภรณ์ จิระพงษา, ขนิษฐ์ รัตนรังสิมา. สถานการณ์ งานส่งเสริมสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550;12(1):50-60.

Lockhart PB, Brennan MT, Thornhill M, Michalowicz BS, Noll J, Bahrani-Mougeot FK, et al. Poor oral hygiene as a risk factor for infective endocarditis-related bacteremia. JADA 2009;140:1238-44.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ.2549-2550. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์- ทหารผ่านศึก; 2551.

World Health Organization. World oral health report 2015 [Internet]. [cited 2020 Sep 25]. Available from: https:// www.fdiworlddental.org/sites/default/files/2020- 11/2015_wohd-whitepaper-oral_health_worldwide.pdf

HDC จังหวัดนครสวรรค์. ค่าเฉลี่ยผุ ถอน อุดในฟันแท้ กลุ่ม อายุ 12 ปี (DMF) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 18 ก.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://nsn.hdc.moph.go.th/hdc/ main/index.php

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว. รายงานการสำรวจ สภาวะทันตสุขภาพอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2561 – 2563 ในเด็กอายุ 12 ปี. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์; 2563.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้ านท่ากระดังงา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2563 ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์; 2563

สาธารณสุขอำเภอเก้าเลี้ยว. ข้อมูลทันตสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเก้าเลี้ยว. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเก้าเลี้ยว; 2563.

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev 1997;84(2):191-215.

House JS. The Association of Social Relationship and activities with mortality: community health study. American Journal Epidemiology 1981;3(7):25-30.

เฉลิม หงส์สุด, บัววรุณ ศรีชัยกุล, จตุพร เหลืองอุบล. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อป้ องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัด ร้อยเอ็ด. วารสารทันตาภิบาล 2563;31(1):39-56.

ละอองดาว วงศ์อำมาตย์, กุลชญา ลอยหา, เผ่าไทย วงศ์เหลา. ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของ ตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2563;9(2):55-68.

ณรงศักดิ์ บุญเฉลียว. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที 6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า- ่ จันทบุรี 2559;27(1):17-27.

หยาดพิรุณ วังอะโศก. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม ทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากใน เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนในเขตตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์ปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2560. 86 หน้า.

วัชลาวลี เกตุดี, วุฒิชัย จริยา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการ รับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคฟันผุ และพฤติกรรมการ ป้องกันโรคฟันผุ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2563;14(3):175-91.

นิศานาถ ไกร. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาใน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที 6 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2561. 101 หน้า.

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbery: Thomson Learning; 2000.

พรพิมล เจียมนาคินทร์. พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อแกรมมี่; 2539.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้