วิเคราะห์สมรรถภาพการทํางานของปอด ในคนงานโรงโม่หินจังหวัดสระแก้ว ปี พ.ศ. 2546-2560
คำสำคัญ:
สมรรถภาพการทำงานของปอด, โรงโม่หินบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพการทำงานของปอดในคนงานโรงโม่หิน ศึกษาข้อมูลในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งแต่ปี 2546 - 2560 ในโรงงานจำนวน 1 โรงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ จำนวน ร้อยละ อัตราการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพการทำงานของปอด ช่วงเวลา 15 ปี ในคนงาน 10 คน พบว่า คนงานมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของค่า forced expira-tory volume in one second (FEV1), forced vital capacity (FVC) และค่าร้อยละของ FEV1 ต่อ FVC เท่ากับ -0.027, -0.003 และ -0.008 ตามลำดับ โดยสามารถจัดลำดับจำแนกตามลักษณะงานจากที่มีแนวโน้มของสมรรถภาพการทำงานของปอด ดังนี้ ซ่อมบำรุง (-0.01327) ขับรถส่งของ (-0.011296) ขับรถตัก (-0.01163) ตักฝุ่น (-0.01004) และคนงานที่ทำงานปากโม่ (-0.00559) และแนวโน้มของสมรรถภาพการทำงานของปอดในเพศชายมีค่าเท่ากับ -0.00974 ในเพศหญิงเท่ากับ -0.01004 สรุป พบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงลดลงของสมรรถภาพการทำงานของปอดในคนงานกลุ่มเสี่ยงและมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกันระหว่างเพศ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.