การประเมินรายงานผลการวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ตามแนวทาง STROBE

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ สุขยา สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มาลินี เหล่าไพบูลย์ สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ศิวานนท์ รัตนะกนกชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงวิเคราะห์, แนวทางการรายงาน, วารสารทางการแพทย์และสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรายงานผลการวิจัยเชิงวิเคราะห์ในนิพนธ์ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทยตามแนวทาง Strengthening the Reporting of Observational Studies in Epidemiology (STROBE) จากวารสารที่มีค่า Thai-Journal Impact Factors เฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2556 อยู่ใน 10 อันดับแรกของวารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย และวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทยที่อยู่ในรายชื่อวารสารที่แสดงความจำนงในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ Interational Committee of Medical Joural Editors (ICMJE) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สืบค้นนิพนธ์ต้นฉบับจากวารสารที่มีเนื้อหาฉบับเต็มโดยการเผยแพร่ผ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคมพ.ศ. 2557 ประเมินการรายงานตามแนวทาง STROBE วิเคราะห์ข้อมูลการรายงานตามข้อเสนอแนะโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยของร้อยละการรายงานตามข้อเสนอแนะของนิพนธ์ต้นฉบับในภาพรวมพร้อม 95%CI พบว่า มีนิพนธ์ต้นฉบับที่นำเข้าการศึกษาจำนวน 129 เรื่อง เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional จำนวน 121 เรื่อง การศึกษาแบบ cohort จำนวน 3 เรื่อง และแบบ case-control จำนวน 5 เรื่อง ค่าเฉลี่ยของร้อยละการรายงานตามข้อเสนอแนะของแนวทาง STROBE ในภาพรวมเท่ากับ 59.9 (95%CI=57.7-62.1) โดยข้อเสนอแนะที่มีการรายงานสูงคือ การระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนร้อยละ 98.4 การพรรณนาข้อมูลคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมศึกษาร้อยละ 97.7 และ การรายงานผลลัพธ์ที่สนใจพิจารณาตามรูปแบบการศึกษา ซึ่งมีการรายงานร้อยละ 94.2 ในการศึกษาแบบ cross-sectional และทุกเรื่องของการศึกษาแบบ cohort และ case-control ส่วนข้อเสนอแนะที่มีการรายงานต่ำ คือการแสดงแผนผังในการรายงานจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาร้อยละ 0.8 และการบรรยายวิธีการจัดการกับอคติที่อาจจะเกิดขึ้นร้อยละ 2.3 ผลการศึกษาแสดงให้ทราบว่านิพนธ์ต้นฉบับการวิจัยเชิงวิเคราะห์มีการรายงานตามแนวทาง STROBE น้อย และไม่ครบถ้วน วารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทยควรมีข้อเสนอแนะการรายงานตามแนวทาง STROBE ในคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ให้มีการรายงานผลการวิจัยที่เฉพาะตามแต่ละรูปแบบการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยในการพิจารณานำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้