การส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตเด็กและประชาชนในพื้นที่ภูฟ้าพัฒนา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา จั่นผ่อง สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • คัทลียา โสดาปัดชา สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การส่งเสริมสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและประชาชน และสังเคราะห์ รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งศึกษาปัจจัยเงื่อนไขสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและ พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและประชาชนในพื้นทีภูฟ้ าพัฒนา จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ่ ด้วยการสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และหัวหน้าศูนย์ภูฟ้ าพัฒนา แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 คน ร่วมกับการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถาม ประเภทถามตอบด้วยตนเอง ในกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน 27 คน ครูอนามัย 27 คน และสุ่มนักเรียนแบบโควต้า 810 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า (1) โรงเรียนมีการดำเนินงานตรวจคัดกรองสุขภาพ นักเรียน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีการใช้เครื่องมือช่วยในการจัดเมนูอาหารและดำเนินการตาม มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มโดยการใช้เครื่องกรองน้ำและจัดให้มีจุดน้ำดื่มบริการสำหรับ นักเรียนและบุคลากร สภาพห้องส้วมและสุขภัณฑ์มีความสะอาด นักเรียนบ้านไกลมีการทำความสะอาดที่พัก เสื้อผ้า และที่นอนอย่างสม่ำเสมอ โดยโรงเรียนจัดเตรียมสถานที่ซักล้างอย่างเพียงพอ (2) การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งด้าน กายภาพและสังคมที่เอื้อและปลอดภัยต่อสุขภาพ อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (3) รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน มีลักษณะคล้ายพันธะเคมีที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างหน่วยงานในการ ดำเนินการ ประกอบด้วย 4 พันธะ คือ การกำหนดเป้ าหมาย การจัดทำแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ และการประเมินผล และ (4) ปัจจัยความสำเร็จ คือ นโยบายและการขับเคลื่อนด้วยการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งของชุมชน ข้อเสนอแนะ คือ รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนา คุณภาพชีวิต สามารถนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นทีที่ มีบริบทเทียบเคียง ่ โดยการปรับแนวทาง ตัวแปร ให้มีความเหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

The WHOQOL GROUP. The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): position paper from the World Health Organization. Social Sciences Medicine 1995; 41(10):1403-9.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์; 2543.

สำราญ จูช่วย. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยราชพฤกษ์; 2554.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. รายงานผลการดำเนิน งานการพัฒนาสุขภาพเด็กและประชาชนในพื้นที่ภูฟ้าพัฒนาจังหวัดน่าน. น่าน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน; 2565

พิษณุ อินปา. รายงานการศึกษาผลของกิจกรรมควบคุมและ ป้องกันโรคหนอนพยาธิต่อความชุกของโรคหนอนพยาธิใน เด็กนักเรียน อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. น่าน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน; 2560.

Stufflebeam DL. The use of experimental design in educational evaluation. Journal of Education Measurement 1971;8(4):267-74.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. แบบสอบถามโภชนการ และสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ปี งบประมาณ 2565. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2565.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดียสมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2560

สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

กิติพัฒน์ นนทปัทมดุลย์. การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการ สังคม: แนวคิดและวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

หทัย ชิตานนท์. การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2541;21(3):105- 11.

Kickbusch I, McCann W, Sherbon T. Adelaide revisited from healthy public policy to health in All policy. Health Promotion International 2008;23(1):1-4.

World Health Organization. Adelaide statement on health in all policies: moving towards a shared governance for health and well-being. Geneva: World Health Organization; 2010.

ปริญดา ทุนคำ. กระบวนการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2563;6(2): 112-26.

World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion: an International Conference on Health Promotion, 17-21 November 1986 Ottawa, Ontario, Canada [Internet]. [cited 2022 Nov]. Available from: https:// www.canada.ca/en/public-health/services/health-promotion/population-health/ottawa-charter-health-promotion-international-conference-on-health-promotion.html

Nissinen A, Berrios X, Puska P. Community-based noncommunicable disease interventions: lessons from developed countries for developing ones. Bull World Health Org 2001;79(10):963-70.

Brever GD, deLeon P. The foundation of policy analysis. Illinois: the Dozsey Press; 1983.

Xiao N, Long Q, Tang X, Tang S. A community-based approach to non-communicable chronic disease management within a context of advancing universal health coverage in China: progress and challenges. BMC Public Health 2014;14(Suppl2):S2.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้