ปัจจัยทำนายทัศนคติต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตเทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, ทัศนคติ, การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และทัศนคติต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และปัจจัยทำนายทัศนคติต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 324 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ระดับความรู้และทัศนคติ โดยใช้สถิติพรรณา และวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่สามารถทำนายทัศนคติต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยสถิติการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75.93) มี ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.98 ระดับทัศนคติต่อ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (Mean=3.93, SD=0.42) ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ เพศ ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ประสบการณ์การอบรม/ประชุม/เรียนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการเข้าร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ สามารถร่วมกันทำนายระดับทัศนคติ ต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้ร้อยละ 20.30 โดยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เป็นตัวแปรที่ สามารถทำนายทัศนคติต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและ ทัศนคติต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Downloads
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Report on global sexually transmitted infection surveillance 2018: World Health Organization; 2018.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุป รายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2562. นนทบุรี: กอง ระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2562.
กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สถานการณ์เด็กและเยาวชน 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
ไทยพีบีเอส (Thai PBS). แพทย์เผยวัยรุ่น 15-24 ปี ป่วย โรคทางเพศสัมพันธ์มากสุด [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaipbs.or.th/ news/content/279871.
ถนอม นามวงศ์, สุกัญญา คำพัฒน์, ปิญชาน์ ปรัชญคุปต์. อัตราความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชน จังหวัดยโสธร. วารสารโรคเอดส์ 2562;31(3):116-24.
นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังโรค 506 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 9 เม.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/boedb/ surdata/disease. php?dcontent=old&ds=37.
อภิรดี อุทัยไพศาลวงศ์. ความสัมพันธ์ของสตรีตั้งครรภ์ ติดโรคซิฟิ ลิสต่อผลลัพธ์การตั้งครรภ์และการเกิดทารก วินิจฉัยโรคซิฟิ ลิสโดยกาเนิด. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564;63(2):348-58.
Korenromp EL, Rowley J, Alonso M, Mello MB, Wijesooriya NS, Mahiané SG, et al. Global burden of maternal and congenital syphilis and associated adverse birth outcomes-Estimates for 2016 and progress since 2012. PLoS One 2016;14(2):1-17.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล, ยุพา ถาวรพิทักษ์, ปิยะลักษณ์ ภักดีสมัย. ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดการป้ องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอชไอวีเอดส์ผลของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนใน 17 จังหวัด. วารสารกรมควบคุมโรค 2562;45(1):65-74.
พอเพ็ญ ไกรนรา. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์และการป้ องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30(4):274-86.
ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์ . ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563; 36(1):149-63.
จุฑาทิพย์ ยอดสง่า, มณีวรรณ ดาบสมเด็จ, เกศิณี หาญจังสิทธิ์ , ภคิน ไชยช่วย, อุรารัช บูรณะคงคาตรี. ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้ องกันโรคซิฟิ ลิสของ นักเรียนเทคนิค. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2564;1(2):58-74.
Cohen J. A power primer. Psychological Bulletin 1992; 112(1):155-9.
Drago F, Ciccarese G, Zangrillo F, Gasparini G, Cogorno L, Riva S, et al. A Survey of Current Knowledge on Sexually Transmitted Diseases and Sexual Behaviour in Italian Adolescents. Int J Environ Res Public Health 2016;13(4):422.
พัชราวรรณ จันทร์เพชร, ฉัตรลดา ดีพร้อม. ผลของโปรแกรม ส่งเสริมพฤติกรรมการป้ องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ใน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 อำเภอโพนทอง จังหวัด ร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2562;42(4): 92–101.
มนัสวีร์ ศรีนนท์. ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2561;6(1):364-73.
บำเพ็ญจิต แสงชาติ, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. ความรู้เรื่อง โรคเอชไอวี/เอดส์และทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศของ นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาล ศาสตร์และสุขภาพ 2560;38(2):95-102. 1
วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. เพศศึกษา สำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33(3):82-98.
ชัยวัฒน์ ยุวมิตร, เมรีรัตน์ มั่นวงศ์. ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการป้ องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของ นักศึกษาชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย. วารสารการแพทย์- และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564;4(1):67- 77.
Schiffman LG, Kanuk LL. Consumer behavior. Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall; 2000.
วรัญญา ไชยโคตร, รัติติยา พานิพัฒน์, เกศิณี หาญจังสิทธิ์ , ภคิน ไชยช่วย, อุรารัช บูรณะคงคาตรี. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้ องกันโรคซิฟิ ลิสในนักเรียน อาชีวศึกษา. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพ 2564;1(1): 17-31.
พิมพวัลย์ บุญมงคล, เพชรรัตน์ พรหมนารท, ณัฐรัชต์ สาเมาะ, Ojanen T, Guadamuz T, Burford J, และคณะ. รายงานผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาใน สถานศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย; 2559.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.