การพัฒนารูปแบบการสร้างสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่นับถือศาสนาอิสลาม

ผู้แต่ง

  • สุนันทา กาญจนพงศ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, รูปแบบการสร้างสุขภาพ, ผู้ป่วยที่นับถือศาสนาอิสลาม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ ศึกษาประสิทธิผลต่อการสร้างสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่ วยโรคเบาหวานหลังการสร้างสุขภาพดี และศึกษา ความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างสุขภาพดีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่ วยโรคเบาหวานที่มารักษาที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอไม้แก่น 6 แห่ง และโรงพยาบาลไม้แก่น เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (กลุ่มทดลอง จำนวน 48 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 48 คน) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดการ ปฏิบัติ 3ส. 3อ. และ 1น. แบบทดสอบการสร้างสุขภาพ แบบบันทึกภาวะสุขภาพ และเครื่องมือในการตรวจวัด/ ประเมินภาวะสุขภาพ (เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง สายวัดรอบเอว และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด DTX ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม – 23 มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแคว์ และ การทดสอบใช้ independent t-test และ paired t-test ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสร้างสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การอบรมและฝึกปฏิบัติการสร้างสุขภาพดี แล้วให้ไปปฏิบัติตนในแต่ละวัน โดยการละหมาด (สวดมนต์) อ่านอัลกรุอาน (สมาธิ) การสนทนาธรรม 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 1น. (นาฬิ กาชีวิต) และใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และติดตามเยี่ยมเสริมพลังผู้ป่ วยโรคเบาหวานเป็นระยะๆ อย่าง ต่อเนื่อง และประเมินผล ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้ป่ วยโรคเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และระดับน้ำตาลในเลือด ดีกว่าก่อนการสร้าง สุขภาพ และดีกว่าการสร้างสุขภาพแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทั้งนี้ ผู้ป่ วยโรคเบาหวาน ควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 64.6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสร้างสุขภาพในระดับมาก ร้อยละ 81.2 รูปแบบการสร้างสุขภาพฯ แบบใหม่นี้ทำให้เกิดประสิทธิผลที่ดี สามารถนำไปใช้ในการสร้างสุขภาพผู้ป่ วยโรคเบาหวาน ที่นับถือศาสนาอิสลาม ของโรงพยาบาล และ รพ.สต. ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วรรณี นิธิยานันท์. ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่องแตะ 4.8 ล้านคน ชี้ ‘เนือยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก’ ต้นเหตุ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// www.hfocus.org/content/2019/11/18014

อัมพา สุทธิจำรูญ. มาตรฐานคลินิกเบาหวานของประเทศไทย. วารสารเบาหวาน 2565;54(1):19-22.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. 2560. รู้จักโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www. Dmthai.org/news and_knowledge/88

Trikkalinou A, Papazafiropoulou AK, Melidonis A. Type 2 diabetes and quality of life. World Journal of Diabetes 2017;8(4):120-9.

American Diabetes Association. Standards of medical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes Care 2017; 30:34-40.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย. คู่มือการ ดำเนินงานโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนวิชาการ และ เครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก; 2564.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12. รายงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน. สงขลา: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12; 2565.

Dey KP, Hariharan S. Integrated approach to healthcare Quality management: A case study. The TQM Magazine 2006;18(6):583-605.

จรณิต แก้วกังวาล, ประตาป สิงหศิวานนท์. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก ในตำราการวิจัยทางคลินิกคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2554.

ธีรพจน์ ฟักน้อย. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2565; 13(2):27-46.

อุทัย สุดสุข, ธีรพร สถิรอังกูร, พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์, บุษบา ใจกล้า. พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธเพื่อ ป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(3):438-50.

World Health Assembly. Strengthening integrated, people-centred health services. WHA 2016;69(24):90-5.

วรรณรา ชื่นวัฒนา, ณิชานาฏ สอนภักดี. พฤติกรรมการดูแล สุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2557;6(3):163-70.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย. การอบรม วิทยากรเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ป้ องกันและควบคุมโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19). นนทบุรี: เดอะกราฟิโก; 2564.

แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ์. สวดมนต์และสมาธิบำบัดเพื่อ การรักษาโรค. นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2558.

กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊. ผลการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบอานาปานสติ ที่มีความเครียด ของนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ