การยอมรับบริการยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การยอมรับ, ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อ, เอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การใช้ยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยส่งเสริมการยุติปัญหาเอดส์ ในอนาคต การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการยอมรับบริการยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส เชื้อเอชไอวี (ยาเพร็พ) และหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับบริการยาเพร็พของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (men who have sex with men, MSM) ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง MSM จำนวน 280 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัย ในกรุงเทพมหานครมาแล้ว 1 เดือน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามแบบให้ตอบด้วยตนเอง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึง เดือนกันยายน 2564 ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาช ของแบบสอบถามส่วนการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับยาเพร็พ การรับรู้อุปสรรคในการเข้ารับบริการ และปัจจัยด้านสถานบริการ เท่ากับ 0.841, 0.763 และ 0.789 วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า การยอมรับบริการยาเพร็พ เท่ากับ ร้อยละ 63.2 ปัจจัยทีสัมพันธ์กับการยอมรับบริการยาเพร็พอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ ระยะเวลาพักอาศัย ในกรุงเทพมหานคร รายได้ต่อเดือน สิทธิการรักษาพยาบาล การรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับยาเพร็พ การรับรู้อุปสรรคใน การรับบริการยาเพร็พ และปัจจัยด้านสถานบริการ ข้อเสนอแนะจากผลศึกษานี้ การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการยาเพร็พ มี ความสัมพันธ์กับการยอมรับบริการยาเพร็พ ดังนั้น มาตรการเพิ่มความรู้และการให้ข้อมูลสถานที่บริการยาเพร็พฟรี อย่างทั่วถึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการส่งเสริมการรับบริการยาเพร็พของ MSM
Downloads
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Key facts HIV [Internet]. 2022 [cited 2023 Jan 4]. Available from: https://cdn. who.int/media/docs/default-source
UNAIDS. UNAIDS data 2020 [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 4]. Available from: https://www.unaids.org/ sites/default/files/media_asset/2020_aids-data-book_ en.pdf
กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. แผนยุทธศาสตร์ยุติปัญหาเอดส์ในพื้ นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560-2573. กรุงเทพมหานคร: สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร; 2560.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2557- 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์แห่งชาติ ว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นทีกรุงเทพมหานคร ปี 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร; 2565.
กัณฑกานต์ นิลสุ่ม, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, วิริณธ์ กิตติพิชัย. การยอมรับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเองของกลุ่ม ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;27:819-29
นัทธวิทย์ สุขรักษ์. ปัจจัยทำนายความสม่ำเสมอในการใช้ ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชายในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาล 2561;3:84-100.
กิตติ พุฒิกานนท์. ปัจจัยการใช้และไม่ใช้ถุงยางอนามัยของ นักเรียนวัยรุ่นชายเขต 9 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารอนามัยครอบครัว 2557;22(3):43-53.
สถาบันวิจัยสุขภาพ. การจ่ายยาต้านไวรัส [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www. adamslove.org/thailand/b.php?cid
สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี. การเปลี่ยน จากเพร็พสูตรเดิมไปใช้เพร็พสูตรใหม่สำหรับบางคนอาจไม่จำเป็น [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ihri.org/th/การเปลี่ยนจากเพร็พ สูตร/
National Institute of Allergy and Infectious Disease. Pre-exposure prophylaxis (PrEP) to reduce HIV risk [Internet]. 2022 [cited 2023 Jan 4]. Available from: https://www.niaid.nih.gov/diseases-conditions/pre-exposure-prophylaxis-prep
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย. เพร็พ (เพร็พ), เป็ป (PEP) คืออะไร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://th.trcarc.org/เพร็พ-prep-เป็ป-pepคืออะไร/
Cocharn WG. Practical nonparametric statistics. New York: John Wiley; 1997.
Wheelock A, Eisingerich AB, Ananworanich J, Gomez GB, Hallett TB, Dybul MR, et al. Are Thai MSM willing to take PrEP for HIV prevention? An analysis of attitudes, preferences and acceptance. PLoS ONE 2013; 8(1):e54288.
Bloom BS. Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals – handbook i: cognitive domain. New York: David McKay; 1956.
Ahouada C, Diabate S, Mondor M, Hessou S, Guédou FA, Béhanzin L, et al. Acceptability of pre-exposure prophylaxis for HIV prevention: facilitators, barriers and impact on sexual risk behaviors among men who have sex with men in Benin. BMC Public Health 2020;20: 1267.
Auemaneekul N, Lertpruek S, Satitvipawee P, Tuah N A. Pre-exposure prophylaxis uptake for HIV infection prevention among young men who have sex with men and transgender women in Bangkok, Thailand. Journals of Health Research 2021;35(5):434-43.
ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความ สนใจในการใช้ยาป้ องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในประเทศไทย. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2563;3(1): 46-56.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.