ผู้ป่วยยากจนติดบ้านติดเตียง และบทบาทของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สกาวเดือน นำแสงกุล โรงพยาบาลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
  • วิชัย เอกพลากร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง, ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่มีเศรษฐานะยากจนนับเป็นประชากรเปราะบางกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ได้อย่างมีคุณภาพเหมาะสม รายงานนี้ศึกษาบทบาทของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (ผชพท.) ในอำเภอ ครบุรีจังหวัดนครราชสีมา ในการบริการเชิงรุกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยกลุ่มกึ่งเฉียบพลัน (sub-acute) ที่มีภาวะทุพพลภาพ ติดบ้าน ติดเตียงจากโรคเรื้อรังได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง ภาวะพิการจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ผลการศึกษาพบว่าในอำเภอครบุรรีมี ผชพท. 20 คน อยู่ในโรงพยาบาลครบุรี 6 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 14 คน ดูแล ผู้ป่วยรวม 70 คนต่อปี ผชพท. เยี่ยมบ้านเพื่อนวดกล้ามเนื้อ ทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นและดูแลสุขภาพทั่วไปให้ผู้ป่วย ติดบ้านติดเตียงที่บ้านสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ผชพท. เหล่านี้เป็นประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับการอบรมความรู้และทักษะการนวดแผนไทย ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนไทยและนักกายภาพบำบัดและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของโรงพยาบาลครบุรี ผลการดำเนินการในปี2557-2558 ความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพวัดด้วย Modified Rankin Scale (MRS) ของผู้ป่วยก่อนและหลังดำเนินการมีสัดส่วนที่มีคะแนนดีขึ้น อัตราการมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ แผลกดทับปอดบวม และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลดลง สรุป การมีผู้ช่วยแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นให้บริการเชิงรุก ด้านกายภาพบำบัดเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่ภาวะทุพพลภาพเป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันที่ค่อนข้างมีศักยภาพและประสิทธิภาพและควรได้รับการสนับสนุนและประเมินผลในระยะยาวต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้