ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประเมินผลกระทบการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุนันทา กาญจนพงศ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.), โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.), การถ่ายโอนภารกิจ, การประเมินผลกระทบ, ข้อเสนอเชิงนโยบาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การจัดทำ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยมีแนวทางการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ (1) การศึกษาและ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนาเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึก (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการ สำรวจภาคสนาม (4) การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล และ (5) การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขทีเข้าร่วมการวิจัยให้ความคิดเห็นว่าการดำเนินงานมีทรัพยากรไม่ เพียงพอ การถ่ายทอดนโยบายยังไม่ชัดเจน ขณะที่ปัจจัยภายนอกด้านเศรษฐกิจ สังคม นโยบายภาครัฐที่เปลี่ยนแปลง ไป เป็นแรงกดดันให้ในช่วงที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหา/อุปสรรค ด้านทรัพยากรที่เกิดขึ้นก่อนการถ่ายโอนได้ อย่างเพียงพอ ขณะที่ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนการถ่ายโอนภารกิจประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน แต่ด้วยการวางแผนงาน กระบวนการถ่ายทอดนโยบาย การสื่อสาร ที่พร้อมหลายด้านและครอบคลุมทุกระดับ ทำให้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากปัจจัยภายนอกเช่นเดียวกัน แต่สามารถดำเนินการโดยมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้าง เป็นไปในทิศทางดีขึ้น ผลการประเมินดังกล่าว นำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายภาพรวม ได้แก่ ควรบูรณาการความร่วม มือการให้บริการร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการสร้างกลไกการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขควรมีนโยบายและแผนที่ ชัดเจนในบริหารจัดการงานทุกระดับ การสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอ รวมทั้งกำหนดให้มีการสื่อสารระหว่าง ระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและทันเวลา ส่วนข้อเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอ ให้ดำเนินการพัฒนาความสามารถด้านระบบสาธารณสุขที่กำกับดูแลให้สามารถสนับสนุนระบบสาธารณสุขทั้ง ระดับพื้นที่และประเทศ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร้รอยต่อ การกำหนดนโยบาย และกลไกรับโอนบุคลากรสาธารณสุขให้มีความชัดเจน เสริมสร้างทักษะ ความก้าวหน้าในอาชีพให้เหมาะสม การบูรณาการระบบร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2560.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น; 2566.

ยศ ตีระวัฒนานนท์, กฤษฎา เจริญรุ่งเรืองชัย, ชนิดา เอกอัครรุ่งโรจน์, ชญาพัช ราชาตัน, เฌอริลิณญ์ ประทุมสุวรรณ์, ธนายุต เศรณีโสภณ, และคณะ. ความพอเพียงของทรัพยากร และงบประมาณของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อ จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่นอย่าง ยั่งยืน. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ; 2566.

ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา, สลักจิต ชื่นชม. การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การ สังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นทีถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

จิรุต ศรีรัตนบัลล์, นภชา สิงห์วีรธรรม, มโน มณีฉาย, ดาวรุ่ง คำวงศ์, นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล, พัลลภ เซียวชัยสกุล, และคณะ. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการ ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การ บริหารส่วนจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 1:การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำ กรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2566.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ