ปัจจัยพยากรณ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่นอนในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลบ้านหมี่ ปี พ.ศ. 2558

ผู้แต่ง

  • นิศารัตน์ สุทธิวงศ์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

เบาหวาน, พยากรณ์โรค, จำนวนวันนอน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่นอนในแผนกอายุรกรรมและดูจำนวนวันนอนโรงพยาบาลในสาเหตุที่พบบ่อย เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์ย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 485 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่นอนโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม (3,352 ราย) ผู้ป่วยเบาหวาน 19 รายไม่ขอรับการรักษาและได้รับการส่งต่อ จึงเหลือผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาล 466 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 78 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 16.7 จำนวนวันนอน โรงพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน แตกต่างจากกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน (7.00, 10.62 และ 5.53, 6.76 วัน) p<0.001 โดยสาเหตุการนอนอาจจะเพื่อควบคุมน้ำตาลหรือรักษาภาวะแทรกซ้อน แผลเบาหวานที่เท้ามี จำนวน วันนอนมากที่สุด 27.20, 34.86 วัน (ช่วงพิสัย 4-130) เหตุผลที่นอนโรงพยาบาลจากผลแทรกซ้อนทางเมตาโบลิกชนิดเฉียบพลัน ร้อยละ 33.4 (162 ราย) โรคติดเชื้อร้อยละ 30.7 (149 ราย) ภาวะโรคร่วมที่พบบ่อยคือ ความดัน-โลหิตสูง ร้อยละ 37.9 (184 ราย) สาเหตุการตายจากภาวะติดเชื้อร้อยละ 43.6 (34 ราย) ระบบหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 14.1 (11 ราย) ปอดบวมร้อยละ 12.8 (10 ราย) และระบบหลอดเลือดสมองร้อยละ 9.0 (7 ราย) ขณะที่ตับแข็งและภาวะติดเชื้อมีอัตราป่วยตายมาก ร้อยละ 56.0 และ 48.0 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยพยากรณ์โรคที่สำคัญ ต่อการเสียชีวิต คือภาวะติดเชื้อ ระบบหลอดเลือดหัวใจ ปอดบวมและไตวายเรื้อรัง โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ Odds Ratio และ 95%CI เท่ากับ 13.34 (6.24-28.51, p<0.001); 10.40 (3.96-27.29, p<0.001); 6.48 (2.45-17.20, p<0.001) และ 4.59 (1.55-13.58, P=0.006) ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ