การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ทางไกล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • จารุรัตน์ พัฒน์ทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การแพทย์ทางไกล, ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี, แนวคิด 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ, ความพึงพอใจผู้รับบริการ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการจัดบริการการ แพทย์ทางไกลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ช่วงปี 2565-2567 (2) พัฒนารูปแบบบริการ และ (3) ประเมินผลรูปแบบ บริการที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ศึกษาพัฒนาจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยีร่วมกับแนวคิด 6 องค์ประกอบของ ระบบสุขภาพ การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที 1 เริ่มต้นพัฒนาใช้วงจรบริหารคุณภาพประกอบด้วย การวางแผน ่ การทำงาน สร้างรูปแบบวิธีการทำงาน การนำไปปฏิบัติ และประเมินผลงาน พบว่า มีโรงพยาบาลเพียง 3 ใน 8 แห่ง ที่มีผลงานการให้บริการ การศึกษาระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการทำงานให้ดีขึ้นโดยใช้วงจรบริหารคุณภาพ ทำ กิจกรรมตามมาตรการส่งเสริมการทำงานซึ่งได้จากการประชุมกลุ่มย่อยผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ การตั้งเป้ าหมายตัวชี้วัด หน่วยงานและผู้บริหาร การมอบรางวัลแห่งที่มีผลงานเด่น การที่ผู้บริหารร่วมรับฟัง ร่วมแก้ไขปัญหา และติดตาม การดำเนินงานสม่ำเสมอ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงพยาบาลต้นแบบ การเยี่ยมเสริมพลังในโรงพยาบาลทุก แห่ง โดยสอดแทรกการสร้างความเชื่อมั่นแก่บุคลากรให้มองเห็นประโยชน์และให้รับรู้ว่าการแพทย์ทางไกลปฏิบัติได้ ไม่ยาก การศึกษาระยะที่ 3 ทำการประเมินผลรูปแบบการพัฒนา โดยประเมินจาก (1) ปริมาณและการเข้าถึงบริการ พบว่า ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งต่อเดือนการให้บริการเพิ่มขึ้น 5.83 เท่า ครอบคลุมการนำไปใช้กับอาการเจ็บป่ วยมากขึ้น (2) การใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ได้แก่ สถิติ Spearman sign rank test พบว่า ระดับการยอมรับ ว่าง่ายในการใช้งาน ระดับการยอมรับประโยชน์ของการใช้งานภาพรวม และการยอมรับประโยชน์ของการแพทย์ทาง ไกลต่อแนวคิด 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพด้านต่างๆ ได้แก่ การยอมรับประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาระบบสุขภาพ การช่วยลดปัญหาขาดอัตรากำลัง การพัฒนาระบบข้อมูล การช่วยพัฒนาการเข้าถึงยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี ทางการแพทย์ การช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการช่วยพัฒนาภาวะผู้นำของระบบสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิง บวกกับตัวแปรความตั้งใจในการใช้งานที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และใช้สถิติ Biserial correlation ทดสอบความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ในการใช้งานกับพฤติกรรมการใช้งาน ในช่วงหลังการพัฒนาพบว่ามี ความสัมพันธ์เชิงบวกที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และใช้สถิติ Wilcoxon sign ranks test ประเมินระดับการรับรู้ ประโยชน์ ระดับการรับรู้ว่าการใช้ง่าย และระดับความตั้งใจในการใช้งาน เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ทุกตัวแปรมีระดับคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 และ (3) ประเมินความพึงพอใจผู้ป่ วยและญาติที่รับบริการ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด จึงสรุปว่ากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรมและตัวแปรที่ศึกษาได้ และรูปแบบที่นำมาใช้ในการพัฒนางานได้ผลดี

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วรธา มงคลสืบสกุล. การเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขของ ไทย: ภาพสะท้อนและความเหลื่อมล้ำของกลุ่มเปราะบางทาง สังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เอเชียอาคเนย์ 2565;6(1):55-68.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลกระทรวง สาธารณสุข (2564-2568) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://ict.moph.go.th/upload_file/files/97c2287c8f04e13f81fec13e431e7a5e. pdf

AMARIN 34 HD. ธุรกิจ Telemedicine โตพุ่ง! หนุนราย ได้โรงพยาบาลเอกชนเกือบ 6 พันล้านบาท [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https:// www.amarintv.com/spotlight/business-marketing/detail/42489]

กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัด: จังหวัดที่มีบริการการแพทย์ ทางไกลตามเกณฑ์ที่กำหนด. ตัวชี้วัดการตรวจราชการ ปี งบประมาณ 2566. ต.ค.2566. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

Davis FD. Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly 1989;13(3):319–40.

ปราโมทย์ ลือนาม. แนวความคิด และวิวัฒนาการของแบบ จำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี. วารสารการจัดการสมัย ใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ stou-sms-pr/article/view/11933

ภูวนาท เช้าวรรณโณ, สวรส ศรีสุตโต, วิษณุ เหลืองลออ. การ ศึกษาแรงจูงใจและการยอมรับเทคโนโลยีของคนไข้ทีมีผลต่อ การตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้าน กระดูกสันหลัง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14. วัน ที่ 7-8 กรกฎาคม 2565; มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม; 2565

อรพรรณ คงมาลัย, วสันต์ ใจวงศ์. การยอมรับและการนำ ระบบโทรเวชกรรมเข้าไปกับกระบวนการสาธารณสุขในพื้นที่ ห่างไกล กรณีศึกษา : โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 2560; 40(4):641-50.

ธนพร ทองจูด. การศึกษาปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทร เวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจ เลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

Tsai CH. Integrating social capital theory, social cognitive theory, and the technology acceptance model to explore a behavioral model of telehealth systems. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2014;11(5):4905–25.

Kamal SA, Shafiq M, Kakria P. Investigating acceptance of telemedicine services through an extended technology acceptance model (TAM) [Internet]. 2019 [cited 2023 Jun 18]. Available from: https://doi.org/10.1016/j. techsoc.2019.101212

Jack SM, Griffiths UK, Closser S, Burchett H, Marchal B. Measuring the health systems impact of disease control programmer: a critical reflection on the WHO building blocks framework. BMC Public Health 2014;14(1): 278.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ